วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

เทคโนโลยี กับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

เทคโนโลยี กับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
เทคโนโลยีเป็นองค์ประกอบสำคัญที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงต่อกระบวนการกิจกรรมของมนุษย์ใน
หลายๆด้าน เช่น สังคมความเป็นอยู่ การปกครอง เศรษฐกิจ แม้แต่ด้านการเมืองการปกครอง การเปลี่ยนแปลงด้าน
เทคโนโลยีนั้นเป็นไปอย่างรวดเร็วได้ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อระบบเศรษฐกิจ ภาคการผลิต ภาคการบริการและคุณภาพชีวิตของประชาชนเทคโนโลยี เป็นส่วนหนึ่งของผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสังคมในหลายๆด้าน เป็นทั้งเครื่องมือที่ผลักดันให้ระบบเศรษฐกิจมีการพัฒนา รวมถึงเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำรงชีวิตของมนุษย์ อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีเองก็สามารถส่งผลกระทบในด้านที่ไม่ต้องการเช่น การสร้างมลพิษหรือการเกิดส่วนเกินจากการผลิตที่ไม่ต้องการกลายเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม การพัฒนาเทคโนโลยีกลายเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาต่างของมนุษย์แต่ในขณะเดียวกันก็สร้างปัญหารูปแบบใหม่ๆให้เกิดขึ้นด้วย การทำความเข้าใจแนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยีจำเป็นต้องมองระยะยาวมากขึ้น เพื่อสะท้อนภาพการพัฒนาเทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ด้านบวกมากกว่าจะกลายเป็นผลเสียต่อสังคมโดยรวม

ความหมายของเทคโนโลยี
ความเข้าใจด้านเทคโนโลยีเริ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงการพัฒนาระบบอุตสาหกรรม ความหมายเน้นในขณะนั้นจะ
เน้นเชิงผลิตที่เกี่ยวข้องกับวิธีการดำเนิน กิจกรรม และความรู้ที่ใช้ในการเปลี่ยนปัจจัยนำเข้าให้เป็นผลผลิต
ความหมายที่เกิดขึ้น เช่น เทคโนโลยี คือ ความรู้ เครื่อง เทคนิค และการกระทำที่ใช้ในการแปลงปัจจัยนำเข้าขององค์การให้เป็นผลผลิต (Perrow,1967 )เทคโนโลยีประกอบด้วยองค์ประกอบมากมาย ซับซ้อน และเป็นส่วนสำคัญในการแก้ปัญหา ทำให้เทคโนโลยีเป็นทั้งโครงสร้างและเป็นตัวเปลี่ยนแปลงสังคม (Thomas P, Hughes,1968)จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยี มักจะหมายถึง สิ่งที่ต้องใช้ความรู้ และมีเครื่องมือร่วมกับทักษะ ทำให้สามารถควบคุมและนำมาใช้ในสังคม ซึ่งเราจะมองในรูปแบบของวิทยาศาสตร์หรืองานวิศวกรรม
เทคโนโลยีนั้นเป็นคำที่มาจากรากคัพท์จากภาษากรีกที่มีคำว่า "technologia", "τεχνολογία" —
"techne", "τέχνη" ("craft") and "logia", "λογία" ("saying") อย่างไรก็ตามคำว่า เทคโนโลยี ก็จะ
ประกอบไปด้วยเครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องจักร (machines, hardware or utensils) ทั้งนี้จะรวมในเรื่องของระบบsystems, กระบวนการบริหารองค์กร เทคนิคต่างๆไปด้วย อาจจะใช้คำศัพท์ประกอบคำร่วมเสริมเพื่อบ่งบอกเฉพาะด้านเช่น เทคโนโลยีการก่อสร้าง "Construction Technology", เทคโนโลยีด้านการแพทย์ "MedicalTechnology" เป็นต้นในยุคกรีกนั้นจะเน้นใช้คำว่า Techne เทคเน่ ซึ่งจะหมายถึงองค์ประกอบสามส่วนเริ่มจากงานด้านศิลปะและการค้า สองคือกฎเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ที่เกิดจากการศึกษางานศิลปะและการค้า และส่วนสุดท้ายจะเป็นเรื่องที่พัฒนาขึ้นเช่น คณิตศาสตร์ เคมี กลศาสตร์ เรื่องจากจะสามารถพัฒนาศักยภาพด้านการผลิตให้มนุษย์เพิ่มขึ้นได้ และแนวคิดนี้ เพลโต (Plato) ได้เพิ่มในเรื่องของการเมืองการปกครองไปด้วย แต่สำหรับอริสโตเติล (Aristotle) นั้นจะเน้นว่าเทคโนโลยีคือ ทุกสิ่งที่มนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้นเรียกว่าTechne (SimKa Deletic,1999)เทคโนโลยีในความหมายยุคใหม่จะมีความเฉพาะมากขึ้นเช่นแนวคิดของ วิลเลี่ยม วาร์เนอร์ (Dr.
William Warner) ได้ให้ความเห็นว่า เทคโนโลยีนั้นคือสิ่งที่ใช้ในการควบคุมกระบวนการทำงานในลักษณะของการเป็นวิธีการ เครื่องมือ และความชำนาญ ทั้งนี้จะมีองค์ประกอบหลักเป็นเรื่องของพลังงาน การขนถ่าย การผลิตการก่อสร้างและการติดต่อสื่อสาร (Warner, 1947)สำหรับเดนเวอร์(Devore) มองว่าเทคโนโลยีนั้นหมายถึง เครื่องมือทุกอย่างที่มนุษย์สร้างขึ้นนำมาใช้ตามประโยชน์รวมถึงการใช้วัตถุดิบเพื่อให้ได้ซึ่งผลที่ต้องการ สิ่งที่สร้างขึ้นและอิทธิพลของเทคโนโลยีจะส่งผลต่อมนุษย์ในการเปลี่ยนแปลงวิธีการดำรงชีวิตของแต่ละคน (Skolimowski, as cited in DeVore, 1976).การพัฒนาเทคโนโลยีมีต่อเนื่องเริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ.1850-1860 ที่เริ่มมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมเกิดขึ้นที่ประเทศอังกฤษ มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในด้านอุตสาหกรรม คือ พลังไอน้ำ ด้วยการประดิษฐ์ของ เจมส์ วัตต์ และเริ่มเกิดส่งผลให้มีแนวความคิดด้านการจัดการองค์กรการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเพิ่มการนำเทคโนโลยีCopyright@2008 Peerapong K.ด้านอื่นๆเข้ามาใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งถึงยุคการบริหารที่เรียกว่า ยุคเครื่องจักร ที่เน้นการวางรูปแบบการบริหารองค์กรที่มองประสิทธิภาพเชิงผลิต และแนวคิดการมององค์ประกอบด้านเทคโนโลยีเริ่มมีส่วนในการพัฒนาและสร้างประสิทธิภาพการจัดการเพิ่มขึ้น การบริหารจัดการที่เรียกว่า การบริหารแบบดั้งเดิม 'classicalmanagement theory' จะเน้นการจัดการความรู้ให้เป็นรูปแบบชัดเจน (systematic body of knowledge)เพื่อให้เกิดวิธีทำงานที่ดีที่สุดซึ่งแนวคิดดังกล่าวนำโดย เฟดเดอริค เทเลอร์ Frederick Taylor, เฮนรี่ ฟาโยHenry Fayol หรือกลุ่มนักคิดในช่วงนั้นได้วางแนวทางการบริหารจัดการองค์กรตามทฤษฏี 'OrganizationTheory'จนกระทั่งมีการทดลองที่แสดงให้เห็นถึง ตัวแปรด้านสังคมที่จะมีผลจะการทำงาน การทดลองดังกล่าวคือHawthorne investigations ในช่วงปี 1924 ทำให้มีการพัฒนาแนวคิดและการทดลองด้านสังคมมากขึ้น การพัฒนาแนวความคิดด้านการจัดการเริ่มมีการคำนึงองค์ประกอบด้านอื่นเข้ามาด้วย การเน้นพัฒนาองค์การบริหารและการพัฒนาบุคลากรทำให้เกิดการพัฒนาด้านเทคโนโลยี และในทางกลับกันเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาขึ้นจึงส่งผลต่อการพัฒนาแนวคิดด้านการบริหารองค์อย่างต่อเนื่องเป็นลำดับเช่นกัน การศึกษาในการออกแบบโครงสร้างขององค์กรและวิธีการบริหารกลายเป็นหัวข้อสำคัญในช่วงปี 1970เป็นต้นมา การออกแบบองค์กรไม่ได้ยึดหลักรูปแบบที่ดีที่สุดวิธีเดียวในหลักคิดแบบองค์กรเครื่องจักรในช่วงของเทเลอร์ แต่มีการปรับตามสภาพที่ควรเป็นจากองค์ประกอบสิ่งแวดล้อม แนวคิดการศึกษารูปของเทคโนโลยีในองค์กรที่ใช้อยู่จะมีผลต่อรูปแบบขององค์กร ดังนั้น
การแยกรูปแบบทางเทคโนโลยีจึงจะบอกลักษณะรูปแบบขององค์กร
การแบ่งเทคโนโลยีตามแนวคิดของโจแอน วู๊ดเวิร์ด (Joan Woodward)
โจแอน วู๊ดเวิร์ด (Woodward , 1958) ชาวอังกฤษชื่อเต็มคือ Joan Woodward ได้ศึกษาบทบาทของ
เทคโนโลยีในลักษณะการเป็นตัวกลางของการบริหารองค์และประสิทธิภาพ โดยการศึกษาวิจัยในองค์กรจริงทำให้เห็นบทบาทของเทคโนโลยีที่เข้ามามีผลต่อทฤษฏีการบริหารองค์กร ศาสตราจารย์วู๊ดเวิร์ด Woodward เสียชีวิตในปี 1971 สิริอายุรวม 54. ถือได้ว่าเป็นผู้หญิงคนที่สองที่ได้รับเกียรติให้เป็น ศาสตราจารย์ที่ Imperial CollegeLondon ด้าน Industrial Sociology เธอได้สอนทางด้าน Production Engineering และ ManagementSectionงานของวู๊ดเวิร์ดที่ได้รับการยอมรับจากหนังสือ Industrial Organization. และงานวิจัยด้านองค์กรที่ถือเป็นงานด้านสังคมวิทยาโดยได้สำรวจบริษัทที่ทำการผลิต 100 แห่ง เพื่อศึกษาว่าบริษัทเหล่านี้มีการจัดองค์การอย่างไร โดยเริ่มจากการคาดว่าจะสามารถพบหลักการ “วิธีเดียวที่ดีที่สุด” (one best way) ตามแนวคิดของเฟดเดอลิค เทเลอร์ ที่มีอิทธิพลต่อแนวคิดในการบริหารองค์กรในช่วงเศรษฐกิจที่เริ่มยุคอุตสาหกรรม แต่ผลการศึกษาพบว่าไม่เป็นไปตามหลักการวิธีเดียวที่ดีที่สุดแต่อย่างใด วู๊ดเวิร์ดจึงพัฒนามาตรวัดกระบวนการทำงานของบริษัทเหล่านี้ โดยนำลักษณะความซับซ้อนด้านเทคนิค (technical Complexity) มาใช้ วู๊ดเวิร์ด ให้ความเห็นว่าการอธิบายลักษณะพฤติกรรมกับงานได้นั้นจะต้องแยกลักษณะเทคโนโลยีที่ใช้ ระดับของเทคโนโลยีจะกลายเป็นตัวแปรหนึ่งที่สร้างรูปแบบของพฤติกรรมการทำงาน(Gardon Minty,2003) และในการศึกษาของวู๊ดเวิร์ดจึงได้Copyright@2008 Peerapong K.สร้างแนวทางการจำแนกวิธีการบริหารการผลิตหรือเทคโนโลยีที่ใช้ในองค์กรนั้นๆโดยกำหนดเงื่อนไขของการใช้
เทคโนโลยี มาเป็นหลัก 3 ประเภท ได้แก่
1.) เทคโนโลยีที่ผลิตสินค้าจำนวนน้อยและผลิตเป็นหน่วย (Small Batch and Unit Production)
คือ กระบวนการทำงานที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตรายชิ้นต่อช่วงเวลาหนึ่ง โดยไม่เน้นปริมาณ ดังนั้นการใช้
วิธีการทำงานหรือเครื่องจักรที่เป็นเทคโนโลยีจะใช้เฉพาะต่อการผลิตไม่ซับซ้อนในการผลิตสินค้านั้น ๆ เทคโนโลยีประเภทนี้จะเกี่ยวข้องกับกระบวนการการใช้แรงงาน พนักงานที่รับผิดชอบชิ้นงานจะต้องอยู่ในสายการผลิตทุกขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งการผลิตชิ้นงานครบถ้วน ดังนั้นเทคโนโลยีเหล่านี้จะมีความซับซ้อนน้อยที่สุด เช่นกระบวนการตัดเสื้อตามคำสั่งของลูกค้าที่อาศัยความเฉพาะเจาะจงทั้งความต้องการและวิธีการผลิต
2.) เทคโนโลยีที่ผลิตสินค้าจำนวนมาก (Large Batch and Mass Production)การสร้างเครื่องมือหรือเครื่องจักรที่กลายเป็นเทคโนโลยีที่ผลิตสินค้าจำนวนมากในเวลาเดียวกัน การออกแบบการทำงานเป็นไปในรูปแบบของแนวคิดของเทเลอร์ การวางสายงานการผลิตรถยนต์ การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือแม้กระทั่งการออกแบบสายงานผลิตในร้านสาขาของแมคโดนัลด์ กระบวนการที่เกี่ยวข้องจะเป็นการแบ่งงานกันทำที่ค่อนข้างตายตัว เน้นสายการผลิต (assembly line) การวางเครื่องมือเครื่องใช้กระบวนการผลิต การฝึกหัดอบรมการทำงานที่ต้องเน้นความชำนาญมากขึ้นเมื่อใช้ระยะเวลาหนึ่งในการทำงานอย่างไรก็ตามเทคโนโลยีที่ใช้นั้นก็ยังไม่มีความซับซ้อนมากนัก เน้นในเชิงผลิตและอาศัยแรงงานจำนวนมาก ความซับซ้อนจัดอยู่ในระดับปานกลาง ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวเทคโนโลยีแบบนี้มีการวิจัยและการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของงานให้มากขึ้น การวิเคราะห์งานเพื่อลดข้อเสียหาย ลดต้นทุนในการผลิต รวมทั้งการศึกษาเพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การผลิตอาศัยความรวดเร็วและการผลิตจำนวนมากเป็นจุดแข็งเชิงการแข่งขัน
3.) เทคโนโลยีที่มีกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง ( Continous Process Production)วู๊ดเวิร์ดได้แยกรูปแบบเทคโนโลยีที่มีวิธีการซับซ้อนทั้งกระบวนการผลิตที่จัดทำต่อเนื่องรวมถึงใช้วัตถุดิบที่ต้องเตรียมการในขั้นตอนต่างๆ เป็นไปได้ว่าไม่สามารถแบ่งแยกเป็นขั้นตอนที่แน่ชัดได้ การออกแบบงานต้องเน้นการใช้เครื่องจักรทั้งกระบวนการการผลิต เช่น โรงงานเคมีภัณฑ์ ซึ่งต้องใช้สารเคมีหลายประเภทในรูปของเหลวโดยใส่เช้าไปในเงื่อนไขแตกต่างกัน (ผสมกัน ใช้ความร้อน ใช้ความเย็น) โดยส่วนผสมนี้จะดำเนินไปตั้งแต่ต้นจนสิ้นสุดกระบวนการ เทคโนโลยีจะเน้นการทำงานของบุคคลากรที่น้อยลงเนื่องจากไม่สามารถสัมผัสกับวัสดุโดยตรง
เช่น การผลิตอาหารของโรงงานขนาดใหญ่ต้องมีการสร้างเครื่องจักรที่มีความสามารถสูงขึ้นเป็นเทคโนโลยีที่สร้างขึ้นสลับซับซ้อนมากที่สุดเมื่อเทียบกับสภาพการผลิตประเภทอื่นวู๊ดเวิร์ดได้ศึกษาข้อมูลงานวิจัยเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีและโครงสร้างการจัดการ และสรุปว่า หากเทคโนโลยีมีลักษณะเป็นการผลิตสินค้าจำนวนมาก จะมีความสัมพันธ์กับโครงสร้างที่รวมศูนย์และเป็นเครื่องจักร ในขณะที่เทคโนโลยีแบบผลิตจำนวนน้อยและมีกระบวนการผลิตที่ต่อเนื่องจะประสบความสำเร็จในโครงสร้างองค์การที่มีการกระจายอำนาจ หรือ เป็นองค์การแบบสิ่งมีชีวิต(ทิพวรรณ,2550)Copyright@2008 Peerapong K.
รูปแบบการแบ่งเทคโนโลยีของ วู๊ดเวิร์ด
การแบ่งรูปแบบเทคโนโลยีทำให้เกิดความเข้าใจการออกแบบการทำงานในทฤษฎีองค์กร แต่เป็นเพราะการพัฒนาเทคโนโลยีไม่ได้หยุดนิ่งมีการก้าวกระโดดการพัฒนา จากที่เคยมีการนำเทคโนโลยีใช้กับองค์กรก็เริ่มมีการนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน รูปแบบการเปลี่ยนแปลงทางสังคมจึงเกิดขึ้น การวิเคราะห์กระบวนการทางเทคโนโลยีซับซ้อนมากขึ้น ในช่วงต่อไปจึงกล่าวถึงการพัฒนาเทคโนโลยีและผลกระทบด้านต่างที่เกิดขึ้นหลังยุคอุตสาหกรรม
กระบวนการพัฒนาเทคโนโลยีโดยเริ่มจากยุคอุตสาหกรรมถึงปัจจุบัน
เทคโนโลยีในช่วงของยุคอุตสาหกรรมได้พัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรก ในด้านหนึ่งก็เพื่อที่จะสร้างเครื่องมือช่วยให้การทำงานของมนุษย์ลดความยากลง แต่ในทางกลับกันก็สร้างความยุ่งยากในการดำรงชีวิตให้มนุษย์เพิ่มขึ้นด้วยการพัฒนาระบบขนส่งที่ช่วยลดเวลาและค่าใช้ลง การสร้างระบบการติดต่อสื่อสารที่ดีขึ้น การประดิษฐ์เครื่องจักรกลการสร้างรถยนต์ หรือมากไปกว่านั้นก็คือ การพัฒนาระบบอวกาศ การสำรวจดวงจันทร์ หรือแม้แต่การพัฒนาพลังงานปรมาณูขึ้นมาใช้งาน
สาเหตุการเกิดปฏิวัติอุตสาหกรรมthe Industrial Revolution
การปฏิวัติอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นนั้นก็เนื่องจากการพัฒนาเทคโนโลยีนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนา
เครื่องจักรไอน้ำที่เข้ามาใช้ในอุตสาหกรรมการทอผ้า ได้เปลี่ยนรูปแบบการทำงานและกระบวนการบริหารงานนอกจากนั้นสิ่งที่มีส่วนต่อการปฏิวัติอุตสาหกรรมนั้นมีอยู่ด้วยกันสามด้าน เริ่มเทคโนโลยีด้านเครื่องจักรไอน้ำและเครื่องมือด้านอื่น(The Steam Engine and Other Technologies) ด้วยการคิดค้นของเจมส์ วัตต์ James Watt.มนุษย์นำเอาพลังงานไอน้ำมาหมุนเครื่องจักรนอกจากนั้นแล้วยังมีเครื่องมือด้านต่างๆที่เป็นเครื่องจักรกล ที่ช่วยลดความยุ่งยากของการทำงาน สามารถออกแบบงานผลิตด้วยจำนวนมากเพื่อลดต้นทุนการดำเนินและสร้างผลผลิตได้ดีขึ้น ในส่วนต่อมาที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงคือ ระบบทุนนิยม Capitalistic (Marglin ,1974) ด้วยแนวคิดที่ไม่หยุดเพียงแค่การผลิตแต่เน้นการพัฒนาการค้าสู่ระดับนานาชาติ มาร์กลิน Marglin ได้สร้างแนวคิดเรื่อง การเร่งเศรษฐกิจให้เติบโตในช่วงยุคต้นของการปฏิวัติอุตสาหกรรม (Francis, 1986). นอกจากนั้นด้านการบริหารยังได้รับการวางรากฐานรูปแบบการบริหารงานในส่วนแรงงานที่ มาร์กลิน (Marglin)ได้พูดถึงการหย่อนประสิทธิภาพการทำงานเพราะความพอใจของแรงงานที่เรียกว่า“leisure preference.” หรือแนวคิดการออกแบบการทำงานของเทเลอร์ ที่มองการบริหารเป็นรูปแบบการออกแบบเชิงวิทยาศาสตร์ กลายเป็นรากฐานของแนวคิดการจ้างงานเป็นรายชิ้นหรือค่าจ้างรายวันเกิดขึ้นด้วย อิทธิพลอีกด้านคือ วัฒนธรรม (The cultural origins) ที่มีส่วนสร้างแนวทางการทำงานให้เกิดลักษณะของเครื่องจักร จากการควบคุมของผู้นำที่เป็นนายทุนที่สามารถสร้างงานจากแรงงาน เครื่องจักรและเงินทุน Jacob (1988) วัฒนธรรมแนวคิดที่เน้นการสร้างวิทยาการ ในช่วงนั้นเริ่มมี
วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ โดยนิวตัน Newton การพัฒนาด้านการค้าเติบโตไปพร้อมด้วยรูปแบบการค้าต่างๆร้านค้าและวิธีการทำการค้าที่สมบูรณ์มากขึ้น การปฎิวัติอุตสาหกรรมส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมไปด้วย ในยุคกลางที่เริ่มมีการสร้างโรงงานเพื่อรองรับการผลิตต่างๆทั่วโลก และในยุคนี้จึงเกิดลัทธิคอมมิวนิสม์ ขึ้นมาโดยนักคิดคาร์ล มาร์กซ์ Karl Marx ที่แยกกลุ่มคนที่เป็นนายทุนและกลุ่มผู้ขายแรงงาน ในการพัฒนารูปแบบการบริหารทำCopyright@2008 Peerapong K.
ให้เกิดแนวคิดแบบ Systematic Management เกิดขึ้นโดยมีผู้นำความคิด คือ เฟดเดอริค เทเลอร์ FredericTaylor ถือว่าเป็นยุคของการบริหารที่เน้นประสิทธิภาพด้านเศรษฐศาสตร์เป็นหลัก เน้นการทำงานเสมือนเครื่องจักร การจัดการอย่างมีกระบวนการ และแบ่งสายงานการทำงานทีเรียกว่าระบบ Assembly line หลังจากนั้นในช่วงปี 1924 เป็นต้นมาเริ่มมีแนวคิดการบริหารที่มองด้านบุคคลมากขึ้น เน้นด้านสังคมและความเป็นปัจเจกของคน มีการพัฒนารูปแบบการบริหาร การสร้างแนวความคิดของผู้นำมากกว่าเป็นนายทุน การทำงานร่วมกันขององค์กร การสิ้นสุดของยุคอุตสาหกรรมเริ่มขึ้นตั้งแต่ช่วง 1953 (Wierzbicki, 2006) เมื่อการพัฒนาความรู้ของมนุษย์เริ่มมีรูปแบบชัดเจนขึ้น เป็นจุดเกิดของการประสานระหว่างการบริหารจัดการ เทคโนโลยีและสังคม
(Gardon Minty,2003) นักคิดที่เป็นผู้นำอย่าง ฟาโยล์ Fayol เทเลอร์ Taylor หรือ องค์กรแบบ ดูปองท์ Dupontได้นำเอาแนวคิดการบริหารสมัยใหม่ เทคโนโลยี และการจัดการองค์กร เข้ามาสู่การปฏิบัติจริง
เทคโนโลยีกับการเปลี่ยนแปลง สังคมยุคใหม่
กระบวนการเปลี่ยนแปลงของสังคมทั่วโลกที่เป็นไปตามกระแสการเปลี่ยนของเทคโนโลยี โดยเฉพาะด้านการสื่อสารแลข้อมูลสารสนเทศ ประสิทธิภาพขงการส่งข้อมูลและข่าวสารมีความทันสมัยและรวดเร็วและด้วยเทคโนโลยีทำให้การรับรู้เป็นไปอย่างสมบูรณ์มากขึ้น ทั้งภาพและเสียงระบบการกระจายข้อมูลข่าวสารเป็นไปอย่างรวดเร็วไม่จำกัดช่องทางหรือตัวกลาง ผลจากการพัฒนารูปแบบเทคโนโลยีทุกด้านทำให้เกิดผลกระทบกับระบบเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีทำให้เกิดแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญหลายด้านแนวโน้มที่สำคัญ ประกอบด้วย
1) เทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ
2) เทคโนโลยีแบบตอบสนองตามความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน เป็นการพัฒนาขึ้นมาใช้สำหรับบุคคลเทคโนโลยีสร้างอุปกรณ์ต่างๆเพื่อเน้นการตอบสนองตามความต้องการ โดยสร้างพื้นฐานของอุปกรณ์รองรับทั้งด้านการเชื่อมโยงเครือข่ายทำให้กระบวนการที่ซับซ้อนสามารถเป็นไปได้ เทคโนโลยีพัฒนาก้าวหน้าเพื่อให้สามารถนำทุกการคิดค้นต่างๆขึ้นมาตอบสนองและลดปัญหาต่างๆของมนุษย์
3) เทคโนโลยีทำให้เกิดรูปแบบขององค์กรที่สามารถประกอบการหรือดำเนินกิจกรรมไดเทุกสถานที่ และทุกเวลาอาศัยการสื่อสารที่ก้าวหน้าและแพร่หลายขึ้นผ่านระบบเครือข่าย การประชุมทางวีดิทัศน์ ระบบประชุมบนเครือข่าย ระบบโทรศึกษา ระบบการค้าบนเครือข่าย ลักษณะของการดำเนินงานเหล่านี้ ทำให้ผู้ใช้ขยายขอบเขตการดำเนินกิจกรรมไปทุกหนทุกแห่งตลอด 24 ชั่วโมง กิจกรรมทางเศรษฐกิจจัดการได้สะดวกมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นการวางระบบเอทีเอ็มที่ทำให้การเบิกจ่ายได้ตลอดเวลาและกระจายถึงตัวผู้รับบริการมากขึ้น
4) เทคโนโลยีทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบท้องถิ่นเชื่อมโยงสู่ระดับเศรษฐกิจโลกที่ไม่มีขีดจำกัดด้านสถานที่ การซื้อขายที่ผ่านระบบอินเตอร์เนททำให้เกิดรูปแบบการค้าที่ช่วยให้มีการแลกเปลี่ยนสินค้า บริการอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว ระบบเศรษฐกิจในโลกสามารถเชื่อมโยงและเอื้อประโยชน์ในรูปแบบต่างๆมากขึ้น
5) เทคโนโลยีส่งผลให้องค์กรมีลักษณะแบบเครือข่ายมากขึ้น องค์กรมีการวางเป็นลำดับขั้นสายการบังคับบัญชาจากบนลงล่าง แต่เมื่อการสื่อสารแบบสองทางและการกระจายข่าวสารดีขึ้น มีการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในองค์กรผูกพันกันเป็นกลุ่มงานเพิ่มคุณค่าขององค์กรด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศองค์กรกลายเป็นการบริหารข่ายงานที่มีลักษณะการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น การออกแบบหน่วยธุรกิจขนาดเล็กลงและเน้นการทำงานเชื่อมโยงกันกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่ายตามความเชี่ยวชาญและประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์เป็นหลัก โครงสร้างของ
องค์กรได้รับผลตามกระแสของเทคโนโลยีอย่างสมบูรณ์
6) เทคโนโลยีทำเกิดการวางแผนการดำเนินการบริหารที่สร้างความได้เปรียบเพื่อให้เกิดความยั่งยืนมากขึ้น ระบบการตัดสินใจวางแผนมีแบบแผนและมีประสิทธิภาพ แนวทฤษฎีทางความคิดการบริหารเปลี่ยนไปมีความยืดหยุ่นและมองหลายมิติมากขึ้น
7) เทคโนโลยีได้กลายเป็นตัวแปรที่สำคัญในทุกด้านมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม
ศีลธรรม การศึกษา เศรษฐกิจและการเมืองได้อย่างมาก การเชื่อมโยงข่าวสารจากประเทศต่างๆ ได้ทั่วโลกสามารถรับรู้ข่าวสาร ใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการสื่อสารระหว่างกันและติดต่อกับคนได้ทั่วโลก ผลกระทบที่ตามมาของการส่งผ่านวัฒนธรรม เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองจึงมีลักษณะเป็นสังคมโลกมากขึ้น
ที่มา : http://www.peerapong.com/franchise/images/stories/pdf/Andrzej-PWierzbicki.pdfสังคมเครือข่าย (Social Network)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น