วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

เทคโนโลยีมีผลต่อการดำรงชีวิตในปัจจุบัน



 มนุษย์มีการดำเนินชีวิตมาตั้งแต่อดีตกาล ผ่านการดำรงชีวิตมาในรูปแบบต่างๆตามยุคตามสมัยและมีการดำรงชีวิตในแต่ละยุคที่ไม่เหมือนกัน อาจจะมีคล้ายกันบางแต่ก็ไม่เหมือนกันซะที่เดียว ซึ่งในการดำรงชีวิตของมนุษย์นั้นต้องมีการประสบพบเจอกับเรื่องหรือปัญหาต่างๆทำให้มนุษย์เกิดการคิด คิดที่จะทำอะไรซักอย่างเพื่อแก่ปัญหานั้นๆ แรกเริ่มอาจจะคิดแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อนแล้วจากนั้นจึงมีการพัฒนาและต่อยอดความคิดนั้นให้สามารถแก้ปัญหาได้ดีขึ้นกว่าเดิม จนสามารถแก้ปัญหานั้นได้และมนุษย์ก็มีการคิดอยู่ตลอดเวลา ทำให้มนุษย์มีพัฒนาการ เกิดความคิดประดิษฐ์ในเรื่องต่างๆ ซึ่งมีมากมายตามยุคสมัยของมนุษย์ เทคโนโลยีเองก็เป็นสิ่งหนึ่งที่เกิดจากความคิดและการพัฒนาขึ้นของมนุษย์ เทคโนโลยีมีความสัมพันธ์กับการดำรงชีวิตของมนุษย์มาเป็นเวลานาน เป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้ในการแก้ปัญหาพื้นฐาน ในการดำรงชีวิตไม่ว่าจะเป็น การเพาะปลูก ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ในระยะแรกเทคโนโลยีที่นำมาใช้เป็นเทคโนโลยีพื้นฐานไม่สลับซับซ้อนเหมือนดังปัจจุบัน การเพิ่มจำนวนของประชากรและข้อจำกัดด้านทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งมีการพัฒนาความสัมพันธ์กับต่างประเทศ เป็นปัจจัยสำคัญในการนำและพัฒนาเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น เทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์เองก็มีความสัมพันธ์กันมากเพราะเทคโนโลยีเกิดจากพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่มนุษย์ได้ศึกษาค้นคว้าทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์มาอย่างต่อเนื่อง ทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีเจริญก้าวหน้า ซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ก็เป็นความรู้ที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มนุษย์ได้สังเกตเห็น โดยหลักสำคัญคือ สิ่งที่มนุษย์ใช้อธิบายว่าทำไมจึงเกิดอย่างนั้น ในปัจจุบันเทคโนโลยีได้มีการพัฒนาเป็นอย่างมากและในการดำเนินชีวิตในปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้เทคโนโลยีในการสื่อสาร เช่น การใช้โทรศัพท์ หรืออินเตอร์เน็ต              สังคมเครือข่าย (Social Network) การใช้เทคโนโลยีในด้าน
การศึกษา จัดระบบในหน่วยงานต่างๆ ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ทำให้เทคโนโลยีมีบทบาทกับมนุษย์จนเทคโนโลยีกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ไปแล้ว ที่เทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมมนุษย์จึงให้ทั้งผลดีและผลเสียต่างๆตามมาเพราะมนุษย์อยู่กันเป็นสังคม ซึ่งสังคมนั้นก็คือคนหมู่มากแล้วเมื่อมีคนมากก็ต้องมีผลต่างๆตามมา การนำเทคโนโลยีมาใช้จึงให้ทั้งผลดีและผลเสียนั้นเอง จึงต้องมีความรู้และเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพสังคม เศรษฐกิจ และความต้องการของประเทศพร้อมทั้งเตรียมแนวทางในการรับมือกับปัญหาที่พร้อมจะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อจากการใช้เทคโนโลยีทั้งที่นึกถึงและคาดไม่ถึง

คำจำกัดความของคำว่า สังคม
       สังคม (Social) คือ การที่กลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน มารวมกลุ่มกันในสถานที่ที่ตอบรับกับความสนใจของเขา และสร้างความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง

     “เทคโนโลยี โดยทั่วไปหมายถึง สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์, เครื่องมือ, เครื่องจักร, วัสดุ หรือ แม้กระทั่งที่ไม่ได้เป็นสิ่งของที่จับต้องได้ เช่น กระบวนการต่าง ๆ   
         พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.2525 ได้ให้ความหมายว่า  เทคโนโลยี  คือ วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลป์ ในการนำเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม
บทบาทของเทคโนโลยีต่อการดำรงชีวิต
        เทคโนโลยีมีบทบาทต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เพราะมนุษย์ได้ใช้เทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องในการพัฒนาในด้านต่างๆเพื่อการดำรงอยู่ของมนุษย์ เช่น
1. เทคโนโลยีกับการพัฒนาอุตสาหกรรม
                   การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิต ทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตเพิ่มขึ้น แล้วยังช่วยประหยัดแรงงาน ลดต้นทุนและรักษาสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีที่มีบทบาทในการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศไทย เช่น คอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์  เทคโนโลยีชีวภาพและพันธุกรรม วิศวกรรม เทคโนโลยีเลเซอร์ การแพทย์ เทคโนโลยีพลังงาน เทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ เช่น พลาสติก แก้ว วัสดุก่อสร้าง โลหะ
2. เทคโนโลยีกับการพัฒนาด้านการเกษตร
              ใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มผลผลิต ปรับปรุงพันธุ์ เป็นต้น  เทคโนโลยีมีบทบาทในการพัฒนาอย่างมาก แต่ทั้งนี้การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาจะต้องศึกษาปัจจัยแวดล้อมหลายด้าน เช่น ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ความเสมอภาคในโอกาสและการแข่งขันทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้เกิดความ ผสมกลมกลืนต่อการพัฒนาประเทศ
3.เทคโนโลยีกับการพัฒนาด้านการสื่อสาร    
   (เทคโนโลยีสารสนเทศ)
              โลกในทุกวันนี้ ที่การสร้างความสัมพันธ์ทางด้านสังคม กลับไม่ได้เป็นแค่การมาพบปะพูดคุย มองเห็นรูปร่างหน้าตา บุคลิกภาพหรือทำกิจกรรมร่วมกันแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่กลับอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการพัฒนาทางด้านสังคมให้เกิดขึ้น จนเราเรียกกันติดหูว่า สังคมเครือข่าย (Social Network) หรือสังคมออนไลน์นั่นเอง
           สังคมเครือข่าย เป็นสังคมที่เกิดขึ้นบนโลกไซเบอร์ ซึ่งมีความกว้างใหญ่ไพศาล ไม่สิ้นสุด ซึ่งสังคมที่เกิดขึ้น ก็คือ เครือข่ายหนึ่งของโลก ที่เชื่อมโยงเข้าด้วยกันในรูปแบบเฉพาะเจาะจง เช่น ทางด้านความคิด เงินทอง มิตรภาพ การค้า ซึ่งอธิบายได้ว่า สังคมเครือข่าย ก็คือ แผนผังความเกี่ยวข้อง ที่มาจากความสนใจในรูปแบบต่างๆ กัน มารวมเข้าไว้ด้วยกัน เช่น กลุ่มเพื่อนสมัยอนุบาล เพื่อนประถม กลุ่มคนรักกล้อง กลุ่มคนที่สะสมตุ๊กตา กลุ่มแฟนคลับของศิลปินเกาหลี เป็นต้น โดยมี Website ที่ได้รับความนิยม และเป็นที่รู้จักกันดี เป็นตัวกลางเชื่อมต่อความชอบของคนแต่ละกลุ่มเข้าไว้ด้วยกัน   ซึ่งเป็นแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงใหม่ทางสังคมโลก  เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้การกระจายข้อมูลข่าวสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว และมีลักษณะการกระจายแบบทุกทิศทาง และมีระบบตอบสนองอย่างรวดเร็ว และยังสื่อสารแบบสองทิศทาง  ด้วยเหตุนี้ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ  การเมือง และสังคมจึงแตกต่างจากในอดีตมาก  ดังจะเห็นได้จากวิกฤตการณ์ทางด้านเศรษฐกิจจากประเทศหนึ่งมีผลกระทบต่อประเทศอื่น ๆ  อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง  ผลของความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญหลายด้าน  แนวโน้มที่สำคัญที่เกิดจากเทคโนโลยีที่สำคัญและเป็นที่กล่าวถึงกันมาก  มีหลายประการ
- ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ  สภาพของสังคมโลกได้เปลี่ยนแปลงมาแล้วสองครั้ง  จากสังคมความเป็นอยู่แบบเร่ร่อนมาเป็นสังคมเกษตรที่รู้จักกับการเพาะปลูกและสร้างผลิตผลทางการเกษตรทำให้มีการสร้างบ้านเรือนเป็นหลักแหล่ง  ต่อมามีความจำเป็นต้องผลิตสินค้าให้ได้ปริมาณมากและต้นทุนถูก  จึงต้องหันมาผลิตแบบอุตสาหกรรม  ทำให้สภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์เปลี่ยนแปลงมาเป็นสังคมเมือง  มีการรวมกลุ่มอยู่อาศัยเป็นเมือง  มีอุตสาหกรรมเป็นฐานการผลิต  สังคมอุตสาหกรรมได้ดำเนินการมาจนถึงปัจจุบัน  และกำลังจะเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมสารสนเทศ  ปัจจุบันคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารมีบทบาทมากขึ้น  มีการใช้เครือข่าย  เช่นอินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงการทำงานต่าง ๆ  การดำเนินธุรกิจใช้สารสนเทศอย่างกว้างขวาง 
- ทำให้เกิดสภาพทางการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา   เมื่อการสื่อสารแบบสองทางก้าวหน้าและแพร่หลายขึ้น  การโต้ตอบผ่านเครือข่ายทำให้เสมือนมีปฏิสัมพันธ์ได้จริง  เรามีระบบ  วีดีโอคอนเฟอเรนซ์  ระบบประชุมบนเครือข่าย มีระบบการค้าบนเครือข่าย  ลักษณะของการดำเนินธุรกิจเหล่านี้ทำให้ขยายขอบเขตการทำงาน หรือดำเนินกิจกรรมไปทุกหนทุกแห่ง  และดำเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมง  เราจะเห็นจากตัวอย่างที่มีมานานแล้ว  เช่น  ระบบเอทีเอ็ม  ทำให้การเบิกจ่ายได้เกือบตลอดเวลา และกระจายไปใกล้ตัวผู้รับบริการมากขึ้น  แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ายิ่งขึ้น  การบริการจะกระจายมากยิ่งขึ้นจนถึงที่บ้าน  ในอนาคตสังคมการทำงานจะกระจายจนงานบางงานอาจนั่งทำที่บ้านหรือที่ใดก็ได้ และเวลาใดก็ได้
- ทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลก  ความเกี่ยวโยงของเครือข่ายสารสนเทศทำให้เกิดสังคมโลกาภิวัฒน์  ระบบเศรษฐกิจซึ่งแต่เดิมมีขอบเขตจำกัดภายในประเทศ  ก็กระจายเป็นเศรษฐกิจโลก  ทั่วโลกจะมีกระแสการหมุนเวียนแลกเปลี่ยนสินค้าบริการอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว  เทคโนโลยีสารสนเทศมีส่วนเอื้ออำนวยให้การดำเนินการมีขอบเขตกว้างขวางมากยิ่งขึ้น  ระบบเศรษฐกิจของโลกจึงผูกพันกับทุกประเทศ และเชื่อมโยงกันแนบแน่นขึ้น
  - เป็นเทคโนโลยีเดียวที่มีบทบาทที่สำคัญในทุกวงการ  ดังนั้นจึงมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม  เศรษฐกิจ และการเมืองได้อย่างมาก  ลองนึกดูว่าขณะนี้เราสามารถชมข่าว  ชมรายการทีวี  ที่ส่งกระจายผ่านดาวเทียมของประเทศต่าง ๆ ได้ทั่วโลก  เราสามารถรับรู้ข่าวสารได้ทันทีเราใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการสื่อสารระหว่าง
กัน และติดต่อกับคนได้ทั่วโลก  จึงเป็นที่แน่ชัดว่าแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม  เศรษฐกิจ  สังคม และการเมืองจึงมีลักษณะเป็นสังคมโลกมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มโลกจึงขึ้นกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

เทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์
ความหมายของวิทยาศาสตร์
                     พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2525 ได้ให้ความหมายว่า วิทยาศาสตร์ คือ ความรู้ที่ได้จากการสังเกต ค้นคว้าจากการประจักษ์ตามธรรมชาติแล้วจัดเข้าเป็นระเบียบหรือเป็นวิชาที่ค้นคว้าได้หลักฐานและเหตุผล แล้วจัดเข้าเป็นระเบียบ
ความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี
เทคโนโลยีเป็นการประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติแก่มวลมนุษย์ กล่าวคือ เทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนที่เป็นข้อแตกต่างอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี กับวิทยาศาสตร์ คือเทคโนโลยีจะขึ้นอยู่กับปัจจัยทางเศรษฐกิจเป็นสินค้ามีการซื้อขาย ส่วนความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นสมบัติส่วนรวมของชาวโลก มีการเผยแพร่โดยไม่มีการซื้อขายแต่อย่างใด
     กล่าวโดยสรุปคือ เทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขึ้นโดยมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานรองรับ
เทคโนโลยีที่เหมาะสม
     คำว่าเทคโนโลยีที่เหมาะสมหมายความถึงเหมาะสมต่อสภาพเศรษฐกิจ สังคม และความต้องการของ
ประเทศ เทคโนโลยีบางเรื่องเหมาะสมกับบางประเทศ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาวะของแต่ละประเทศ
1. ความจำเป็นที่นำเทคโนโลยีมาใช้ในประเทศไทย ประชาชนส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร รายได้จากผลผลิตทางการเกษตรมีมากกว่ารายได้อย่างอื่น และประมาณร้อยละ 80 ของประชากรอาศัยอยู่ในชนบท ดังนั้นการนำเทคโนโลยีมาใช้จึงเป็นเรื่องจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีทางการเกษตร สินค้าทางการเกษตร ส่วนใหญ่ส่งออกจำหน่ายต่างประเทศในลักษณะวัตถุดิบ เช่น การขายเมล็ด
โกโก้ให้ต่างประเทศแล้วนำไปผลิตเป็นช็อคโกแลต หากตั้งโรงงานในประเทศไทยต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาการแปรรูป
2. เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีผู้รู้หลายท่านได้ตีความหมายของคำว่า เหมาะสม
                  ว่าเหมาะสมกับอะไรต่อเศรษฐกิจระยะเวลาหรือระดับเทคโนโลยีที่เหมาะสม คือ
                     เทคโนโลยีที่สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินกิจการต่าง ๆ และสอดคล้องกับความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ สภาพแวดล้อม วัฒนธรรมสิ่งแวดล้อม และกำลังเศรษฐกิจของคนทั่วไป

ผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยี
    เทคโนโลยีถูกจำแนกออกมาตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน ซึ่งจะเห็นได้ว่าในหลายๆครั้งถ้าถูกนำมาใช้ในทางที่ดี ก็จะเกิดประโยชน์ต่อสังคมแต่ในบางครั้งเทคโนโลยีเหล่านี้ก็ทำให้เกิดปัญหาตามมาไม่น้อยเหมือนกัน อยู่ที่การนำไปใช้ ซึ่งส่งผลกระทบดังนี้
ผลกระทบทางสังคม
สำหรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสังคมนั้น หากมองในทางที่ดีแล้ว จะพบว่า เทคโนโลยี ช่วยให้การติดต่อสื่อสาร หรือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคนในสังคมใช้เวลาที่รวดเร็ว บางครั้งไม่ต้องเดินทางข้ามประเทศ เพื่อมาพบกัน ก็สามารถเจอกันได้ผ่านทางสังคมออนไลน์  อีกทั้งทำให้เกิดความอิสระในการมีเพื่อนที่มาจากต่างประเทศมากขึ้น ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนทั้งทางด้านทัศนคติ ความรู้ และวัฒนธรรมต่างๆ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนพัฒนาการทางด้านเทคโนโลยี
             ทำให้เกิดคลังความรู้ใหม่ๆ ขึ้นมา เพราะการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคนในสังคมเครือข่าย ที่มีการต่อยอดทางความคิด กันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในหลายๆ ครั้งก็พบว่ามี นวัตกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นมาจากการคุยกันใน เว็บบอร์ด รวมไปถึงการสร้างพลังทางสังคมที่มากขึ้น โดยจะเห็นได้จากเมื่อใดก็ตามที่สังคมเกิดปัญหาขึ้น ก็จะมีการวิพากษ์วิจารณ์ แสดงความคิดเห็น หาทางออกให้กับปัญหาต่างๆ โดยมีคนเข้ามามีส่วนร่วมเป็นจำนวนมาก ซึ่งการรวมกลุ่มทางสังคมนี้ขึ้นมา ก็ทำให้เกิดพลังในการขับเคลื่อน และปรับปรุงประเทศต่อไป  พร้อมทั้งยังมีการนำเทคโนโลยีมาใช้การพัฒนาศักยภาพทางด้านต่างๆ
แต่ในอีกมุมหนึ่ง จะพบว่าความสัมพันธ์ของคนที่ใช้เทคโนโลยีนี้ เป็นความสัมพันธ์แบบฉาบฉวย ไม่ได้มีการติดต่อสื่อสารแบบเผชิญหน้ากันอย่างแท้จริง บางคนต้องการเพียง                                                                                                                                                                                                                                                                                     แค่เก็บจำนวนเพื่อนให้เยอะๆ เฉยๆ เพื่อนที่อยู่ในสังคมนี้จึงไม่ค่อยมีความสำคัญเท่าไรนัก นอกจากนี้ ข้อมูลส่วนตัวที่อยู่ในสังคมเครือข่าย ก็บอกไม่ได้ว่าเป็นข้อมูลที่ถูกต้องหรือไม่ ทำให้ถูกมองว่าเป็นสังคมแห่งความหลอกลวง และไม่จริงใจ
           การที่ไม่ต้องเห็นหน้าในการสื่อสารกัน ทำให้ในหลายๆ ครั้งผู้ใช้เองก็ขาดสติ และศีลธรรม และนำพฤติกรรมทางด้านลบที่ตัวเองอยากทำ แต่ไม่ได้ทำในโลกของความเป็นจริงมาใช้ในโลกของไซเบอร์ โดยมักใช้ข้อความในการดูหมิ่น ถากถาง หรือการ โพส์ต รูปที่ค่อนข้างอนาจารทำให้ในหลายๆ ครั้งสังคมเครือข่าย กลายเป็นแหล่งรวมของกลุ่มคนที่เป็นปัญหาทางสังคม และในท้ายที่สุด หลายๆ กรณี ก็ทำให้เกิดปัญหาทางด้านกฎหมายตามมาอีกมากมาย อย่างที่เรามักจะพบเห็นในหน้าหนังสือพิมพ์อยู่ทุกวัน
           และที่เลวร้ายไปกว่านั้น ก็คือบ่อยครั้งที่ผู้ใช้เอง มักถูกล่อลวงจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ โดยไปหลงเชื่อข้อความที่อยู่ในเครือข่ายนั้น และโดนหลอกลวงไปทำมิดีมิร้ายต่างๆ เช่น ถูกหลอกไปข่มขืน ทำร้ายร่างกาย หรือทำให้เสียชีวิต ซึ่งกลายเป็นว่าสังคมเครือข่ายเป็นต้นเหตุ ที่ทำให้เกิดคดีต่างๆ เพิ่มมากขึ้น
            ดังนั้น จะเห็นได้ว่าสังคมเครือข่ายแม้จะเป็นเทคโนโลยีใหม่ ที่ก้าวเข้ามาในโลกไม่นานนัก แต่ก็ส่งผลต่อสังคมสูงมาก และถ้าองค์กรทางภาครัฐ หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการดูแลทางด้านสังคมไม่ได้ระวังตัว ก็จะทำให้สังคมของตัวเองต้องตกเป็นเหยื่อของเทคโนโลยีนี้ก็ได้   ทั้งยังมีการใช้เครื่องจักรในโรงงานแทนแรงงานคนมากขึ้นทำให้คนตกงานมากขึ้น
ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ
             เทคโนโลยีสารสนเทศด้านสังคมเครือข่ายเป็นช่องทางในการหาข้อมูล หรือทำธุรกิจที่มีราคาถูกมาก โดยในปัจจุบันบริษัทต่างๆ ก็หันมาโฆษณาผ่านทางสังคมเครือข่ายมากขึ้น เพราะไม่เสียค่าใช้จ่าย และได้ผลรวดเร็วต่อการสื่อสารให้คนอื่นๆ ได้รับทราบ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างหน้าเครือข่ายไว้ที่ Facebook เพื่อประชาสัมพันธ์ และรับความคิดเห็นของลูกค้า หรือการนำโฆษณาของตนเองไป โพส์ต ไว้ที่ Youtube ซึ่งก็กลายเป็นช่องทางที่ทำให้คนเข้ามาดูมากกว่าช่องทางที่เป็นโทรทัศน์หรือวิทยุ 
        ซึ่งนี่เป็นอีกหนึ่งโอกาสสำหรับองค์กรต่างๆ ที่สามารถเก็บข้อมูล ความสนใจ และความต้องการของผู้บริโภคได้ตรง
         นอกจากนี้ การร่วมด้วยช่วยกันคิดผ่านสังคมเครือข่าย ก็ทำให้เกิดมุมมองต่างๆ เพิ่มมากขึ้น มีความคิดเห็นที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น จนทำให้เกิดเป็นนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมา และสามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ หรือการดำเนินธุรกิจได้เป็นอย่างดี
           แต่ในทางกลับกัน หากผู้ใช้งานเอง ไม่ได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการนำเทคโนโลยีนี้ มาใช้แล้วล่ะก็จะกลายเป็นว่าวันๆ เอาแต่เล่น Hi5 Facebook โพสรูปของตัวเองเรื่อยไป งานการไม่ได้ทำ ทำให้องค์กรไม่ได้รับการพัฒนา เพราะคนในองค์กรไม่ได้ใส่ใจในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
            จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศด้านสังคมเครือข่าย จึงมีอิทธิพลทั้งทางด้านดี และทางด้านไม่ดีต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจสูงมาก ซึ่งหากมองเห็นถึงประโยชน์เทคโนโลยีสารสนเทศด้านสังคมเครือข่ายนี้ ก็จะถูกนำมาใช้สร้างเป็นกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนทางธุรกิจได้เป็นอย่างดี ซึ่งแน่นอนว่า หากผู้ขายสามารถขายสินค้าได้ตรงใจลูกค้ามากยิ่งขึ้น และตอบรับความต้องการได้อย่างโดนใจแล้วล่ะก็ ก็ย่อมส่งผลในทางที่ดีต่อสภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างแน่นอน
ผลกระทบทางด้านการเมือง
       เทคโนโลยีสารสนเทศด้านสังคมเครือข่าย ถูกนำมาใช้สร้างอิทธิพลทางการเมืองสูงมาก แต่ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก  เท่าไร จนกระทั่ง บารัค โอบามา ชนะการเลือกตั้ง เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนที่ 44 ซึ่งเขาเองก็เป็นผู้หนึ่งที่ให้ความสำคัญกับการสร้างเทคโนโลยีสารสนเทศด้านสังคมเครือข่ายขึ้น และสามารถนำมาใช้ในการหาเสียงได้เป็นอย่างดี
             สำหรับในเมืองไทยเอง ก็มีการสร้างเทคโนโลยีสารสนเทศด้านสังคมเครือข่ายขึ้นเหมือนกัน อย่างในรัฐบาลของคุณอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ นั้น ก็มองเห็นถึงอิทธิพลจากสังคมเครือข่าย จึงมีการสนับสนุนให้ใช้Facebook และ Hi5 ในการติดต่อสื่อสารกับประชาชน ทั้งจากการนำนโยบายมาสื่อสารให้ประชาชนได้ทราบ หรือการรับข้อเสนอแนะจากประชาชนก็ตาม และบุคคลที่ได้ชื่อว่า เป็นอีกผู้หนึ่งที่นิยมชมชอบในการสื่อสารกับประชาชน ด้วยเทคโนโลยีประเภทนี้ ก็คือ คุณกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งท่านเองก็มี Facebook และ Hi5 ไว้ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ว่าในขณะนี้ รัฐบาลกำลังดำเนินงานเรื่องอะไร มีผลกระทบอะไรบ้าง และต้องการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างไร โดยเปิดรับความคิดเห็นจากในเครือข่าย แน่นอนว่า ท่านเองก็ได้เข้ามาใช้งานในสังคมเครือข่ายนี้อย่างเป็นประจำทุกวัน เพราท่านรู้ดีว่ากลุ่มคนในสังคมเครือข่ายนี้ จะมีอิทธิพลต่อการขับเคลื่อนประเทศนั่นเอง
         แต่ในทางกลับกัน แม้ว่าสังคมเครือข่ายจะมีคุณประโยชน์กับภาครัฐก็จริงอยู่ แต่ในบางครั้งก็มีโทษมหันต์เหมือนกัน เพราะเนื่องจากเป็นสังคมที่ไม่มีการปิดกั้นทางความคิด ทำให้ในหลายๆ ครั้งมีการโพสกระทู้ที่ล่อแหลมต่อความมั่นคงของชาติ หรือสภาบันพระมหากษัตริย์ ตามที่เคยมีข่าวออกมา ก็ส่งผลกระทบทั้งต่อตัวผู้โพสเอง และเจ้าของที่ให้บริการด้วย อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศอีกด้วย
ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
        เทคโนโลยีในปัจจุบันมีความต้องการและใช้กันอย่างแพร่หลายซึ่งวัสดุอุปกรณ์บางประเภทที่ใช้นำมาประกอบเป็นอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีนั้นเมื่อหมดอายุการใช้งานหรือไม่ใช้แล้วยากต่อการกำจัดและวัสดุอุปกรณ์บางชนิดก็มีสารเคมีที่เป็นอันตรายหลงเหลืออยู่เช่น แบตเตอรี่ ถ่านไฟฉาน ซึ่งบางครั้งมีการนำมาทิ้งในที่สาธารณะเช่น แม่น้ำ ด้วยความมักงาย ก็อาจก่อให้เกิดอันตรายได้
แนวทางในการแก้ไขปัญหา
1.                   แยกขยะที่เป็นวัสดุอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีที่อาจก่อให้เกิดอันตราย แล้วจึงนำไปทิ้งในที่ๆถูกต้อง
2.                   องค์กรทางภาครัฐ หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการดูแลทางด้านสังคมต้องค่อยสอดส่องดูแล พร้อมทั้งนำเสนอและเตือนภัยที่พบในสังคมนี้ให้ทั่วถึง เพื่อที่จะไม่ให้สังคมของตัวเองต้องตกเป็นเหยื่อของเทคโนโลยีนี้ได้
3.                   ผู้ปกครองควรให้คำแนะนำและให้ความรู้ที่ต้องเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีและภัยที่มาจากเทคโนโลยี
4.                   ควรจะส่งเสริมและผลักดันให้สมาชิกในสังคม ทำในสิ่งที่ถูกต้อง ไม่ผิดกฎหมาย ไม่สร้างความเดือดร้อน และใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีในทางที่สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ขึ้นมามากกว่าทำลาย



สรุป
             เมื่อมนุษย์มีสังคมและมีการดำรงชีวิตทำให้เกิดความคิด เริ่มที่จะเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากการดำเนินชีวิตของตน ทำให้มีการใช้ความคิด เพื่อพัฒนาสิ่งต่างๆมาใช้ในการแก้ปัญหา จากเริ่มแรกที่มนุษย์ใช้ความคิดในการแก้ปัญหาเพียงพื้นฐานซึ่งไม่สลับซับซ้อนมาก ยิ่งเมื่อมนุษย์มีการพัฒนารูปแบบของการดำรงชีวิตและความคิดมากยิ่งขึ้นแล้ว ก็ทำให้มนุษย์รู้จักการคิดที่ซับซ้อนขึ้น เกิดความละเอียด รอบคอบ เกิดความคิดที่จะสร้างสิ่งที่จะตอบสนองความต้องการในการแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับการดำรงชีวิตขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเครื่องไม้ เครื่องมือ หรือกระบวนการต่างๆจึงเกิดขึ้น เทคโนโลยีเองก็เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นด้วยพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ ซึ้งวิทยาศาสตร์ก็คือ ความรู้ที่เกิดจากการสังเกตธรรมชาติของมนุษย์และเทคโนโลยีนี้เองที่เข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินชีวิต จึงทำให้การดำเนินชีวิตของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไป โดยเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ในปัจจุบันเทคโนโลยีได้กลายเป็นที่สนใจของคนทุกมุมโลก ทุกสาขาเทคโนโลยีถูกนำมาประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆอย่างแพร่หลายไม่ว่าจะเป็นด้านการแพทย์ ด้านการเกษตร ด้านการเรียนหรือจะเป็นด้านการสื่อสาร ที่ล้วนเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตในปัจจุบันทั้งสิ้น
1.        ข้อเสนอแนะ
          เทคโนโลยีมีบทบาทมากในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการใช้เทคโนโลยีในการทำกิจกรรมประจำวัน ใช้ในด้านการงาน ในด้านการเพิ่มผลผลิต  เพิ่มรายได้ จนเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่มนุษย์ขาดไม่ได้ในการดำรงชีวิต   อย่างในวันหนึ่งๆนี้ถ้าคุณลองนึกดูให้ดีคุณจะพบว่า ในการดำรงชีวิตประจำวันของคุณต้องเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและเมื่อคุณลองมองไปรอบๆตัว
เทคโนโลยีจะอยู่ในสายตาคุณเสมอ เพราะมนุษย์ได้พัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาในรูปแบบและจำนวนที่มากมาย แล้วถ้าถามว่าเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าที่สุดและคนทั้งโลกให้ความสำคัญมากที่สุดก็คงนี้ไม่พ้น เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เป็นเครือข่ายครอบคลุมทั้งโลก ที่ถึงแม้คุณจะอยู่คนละฟากโลกก็สามารถใกล้ชิดกันได้ในเครือข่ายนี้ ซึ้งเป็นเรื่องง่ายแล้วยังสะดวกสบายและยังมีหลากหลายรูปแบบ เกิดเป็นสังคมเครือข่ายขึ้น  การเกิดสังคมเครือข่ายนี้เองทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการดำรงชีวิต เกิดผลกระทบต่อด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคมที่ มีการแลกเปลี่ยนความรู้และวัฒนธรรมมากขึ้น มีเพื่อนในสังคมเครือมาก แต่หากมีการรับสิ่งที่ไม่ดีมาใช้ก็จะทำให้เกิดปัญหาได้ หรือเลือกที่จะใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ไม่เหมาะสมก็ทำให้เกิดปัญหาขึ้นได้เหมือนกัน เช่น การติดเกมส์ การซื้อสินค้าผิดกฎหมาย และเนื่องจากเทคโนโลยีเข้าถึงง่ายมีความสะดวกสบายในการใช้ พร้อมทั้งการที่จะควบคุมดูแลก็อาจไม่ทั่วถึงเพราะเทคโนโลยีมีคอบเขตที่กว้างขว้างดังนั้นจึงต้องมีการศึกษาเทคโนโลยีและเลือกใช้อย่างเหมาะสมเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมา

วิทยาการและเทคโนโลยีกับสังคมปัจจุบัน

วิทยาการและเทคโนโลยีกับสังคมปัจจุบัน
วิทยาการและเทคโนโลยีได้สร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับมนุษย์หลายด้านแต่ผลกระทบที่เกิดจากความเจริญก้าวหน้า และเทคโนโลยีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกขณะในปัจจุบันนี้ จนบางครั้งปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นทั้งหมดนั้น มีสาเหตุมาจากวิทยาการและเทคโนโลยีโดยตรง ซึ่งผลกระทบด้านลบมีสาเหตุมาจาก 2 ประการ คือ
1. ปัญหาการใช้วิทยาการและเทคโนโลยี
2. การเปลี่ยนแปลงลักษณะของวิทยาการและเทคโนโลยี

ปัญหาการใช้วิทยาการและเทคโนโลยี
1. สาเหตุเกิดจากมนุษย์สร้างขึ้น เนื่องจากมนุษย์มีลักษณะการบริโภคที่เกินพอดี มีความโลภ ความหลงในสิ่งต่าง ๆ ไม่สิ้นสุด จึงเกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาจากการใช้วิทยาการและเทคโนโลยี
2. การไม่ประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นภายหลัง เนื่องจากการนำวิทยาการและเทคโนโลยีมาใช้ ไม่ประเมินผลเสียที่จะเกิดขึ้นภายหลังจากการใช้ เช่น การใช้ก๊าซคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFC) ในอุตสาหกรรม ส่งผลให้เกิดการทำลายชั้นบรรยากาศทำให้ปริมาณรังสีตกกระทบพื้นโลกมากขึ้น อันจะเป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็งผิวหนัง ต่อมนุษย์สูงขึ้น และทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นด้วย
3. การขาดความรับผิดชอบทางสังคมของหน่วยงาน หน่วยงานที่มีการนำวิทยาการและเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ไม่มีความรับผิดชอบต่อผลกระทบที่มีต่อสังคม เป็นเหตุให้เกิดปัญหาสังคมต่อประเทศชาติ และโลกหลายด้าน เช่น ปัญหาอากาศเป็นพิษ ปัญหาขยะมูลฝอย ปัญหาน้ำเสีย เป็นต้น

การเปลี่ยนแปลงลักษณะของวิทยาการและ เทคโนโลยี
1. การค้นพบความรู้ขั้นพื้นฐานใหม่ ๆ เกิดจากการศึกษาค้นคว้าและวิจัยเฉพาะด้านเพื่อเป็นความรู้ใหม่ ๆ ในการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ ตามต้องการ เช่น การศึกษาเกี่ยวกับลักษณะการถ่ายทอดทางพันธุกรรมของพ่อแม่ไปสู่ลูก (DNA) ซึ่งสามารถศึกษาและพัฒนาให้มีคุณสมบัติตามต้องการได้ ส่งผลให้มีการใช้ข้อมูลด้านเทคโนโลยีชีวภาพ เป็นตัวกำหนดคุณลักษณะและเป็นบรรทัดฐานในการคัดเลือกคนได้ตามที่ต้องการ
2. วิทยาการและเทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง เนื่องจากมีการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้น นักวิทยาศาสตร์ หรือนักวิชาการจึงต้องมีการศึกษาเฉพาะด้านและจำกัดวงแคบ เพื่อศึกษาสิ่งใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดผลกระทบด้านลบในการประยุกต์ใช้วิทยาการและเทคโนโลยี
3. ความก้าวหน้าวิทยาการและเทคโนโลยีส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างกว้างขวาง การประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ส่งผลกระทบต่อท้องถิ่นนั้น หรือประเทศนั้นอย่างรวดเร็ว รุนแรงและเพิ่มสูงขึ้นจนเป็นปัญหาระดับโลกได้ เช่น การสื่อสารและคอมพิวเตอร์ การคมนาคมขนส่ง เป็นต้น

การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
เทคโนโลยีที่เหมาะสม คือ การนำวิธีการหรือเครื่องมือมาใช้ให้เหมาะสมกับทรัพยากร สภาพแวดล้อม วัฒนธรรม รวมทั้งสภาพเศรษฐกิจภายในประเทศที่เหมาะสม
การใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาแต่ละประเทศมีข้อจำกัดในการใช้ต่างกัน เนื่องจากมีข้อแตกต่างกัน เช่น ระดับการศึกษา สภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศนั้น ๆ จึงจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับประเทศของตน

แหล่งที่มาของเทคโนโลยีที่เหมาะสม
1. เทคโนโลยีที่คิดค้นมาตั้งแต่เดิมและมีความเหมาะสมในสมัยก่อน เรียกว่า เทคโนโลยีพื้นบ้าน
2. การพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นภายในประเทศ หรือปรับปรุงที่มีอยู่ให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น
3. รับถ่ายทอดเทคโนโลยีจากภายนอกประเทศ และนำมาดัดแปลงใช้ภายในประเทศ

ขอบเขตของเทคโนโลยีที่เหมาะสม
1. ประชาชนมีความรู้และยอมรับในเทคโนโลยีนั้น ๆ ในท้องถิ่นอยู่แล้ว
2. ประชาชนในท้องถิ่นสามารถบริหารและจัดการในกระบวนการผลิตได้ง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน
3. เทคนิคการใช้ง่ายและไม่ซับซ้อน เป็นเครื่องมือขนาดเล็ก ใช้คล่องตัว
4. ราคาประหยัด ต้นทุนในการผลิตต่ำ
5. ไม่ทำลายระบบนิเวศวิทยาและสภาพสมดุลของสิ่งแวดล้อม

ปัญหาจากการใช้วิทยาการและเทคโนโลยี
1. ปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติ
เช่น ปัญหาการขาดแคลนทรัพยากร ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาการแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสังคมมนุษย์มากที่สุด
2. ปัญหาสังคมและภาวะประชากร
เป็นปัญหาซึ่งเกิดขึ้นในสังคมไทยปัจจุบัน และส่งผลกระทบในระยะยาว เช่น ปัญหาการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล การลักลอบใช้โทรศัพท์มือถือ ปัญหาทางการแพทย์ ในการเพิ่มและลดจำนวนประชากร การผสมเทียม เป็นต้น
3. ปัญหาจากการประยุกต์ใช้วิทยาการและเทคโนโลยีทางการเมืองและทหาร ปัจจุบันได้นำมาใช้เป็นเครื่องมือสร้างอำนาจและการต่อรองทางทหารและการเมือง เช่น ระเบิด เทคโนโลยีทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้พัฒนาขีปนาวุธนำวิถี เทคโนโลยีการสื่อสาร เพื่อใช้พัฒนาดาวเทียมจารกรรม เทคโนโลยีทางเคมี เพื่อใช้พัฒนาวัตถุ เทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อใช้พัฒนาอาวุธ
4. ปัญหาต่อการพัฒนาประเทศ
ความก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาประเทศต่าง ๆ ซึ่งจะครอบคลุมตั้งแต่เทคนิคการใช้ การดัดแปลง การปรับปรุง การพัฒนาประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ การถ่ายทอดเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยพัฒนาประเทศให้มีความมั่นคงทางอุตสาหกรรม
การพัฒนาวิทยาการและเทคโนโลยีเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า หากประเทศใดละเลยก็ส่งผลให้ประเทศนั้นไม่สามารถพัฒนาได้เท่าเทียมกับประเทศอื่นได้
สิ่งสำคัญที่ควรตระหนักในการใช้วิทยาการและเทคโนโลยีในการพัฒนาประเทศ ได้แก่
- เทคโนโลยีมีทั้งผลดีและผลเสีย ต้องพยายามลดผลเสียให้มากที่สุด
- ควรคำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้รับเป็นบรรทัดฐานสำคัญ
- ควรได้รับการยอมรับจากหลายฝ่าย เพื่อให้สามารถใช้อำนวยประโยชน์ได้สูงสุด
- ควรคำนึงถึงความสมดุลระหว่างมนุษย์ เทคโนโลยี และธรรมชาติมากที่สุด

ผลกระทบของการใช้วิทยาการและเทคโนโลยีต่อมนุษย์
ด้านเกษตรกรรม
ผลดี ::
- ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้มากขึ้น เนื่องจากผลผลิตเพิ่มสูงขึ้น
- มีอุปกรณ์ที่ใช้ผ่อนแรงมากขึ้น
- มีการสังเคราะห์ทางเคมีช่วยกำจัดแมลงและศัตรู
- มีการผสมเทียมและพัฒนาฮอร์โมนเร่งผลผลิต
ผลเสีย ::
- ก่อให้เกิดสารพิษตกค้างในอาหารจากการใช้สารเคมี
- การใช้ปุ๋ยเคมีทำให้สภาพดินเสื่อมคุณภาพ
- ทำให้มีการตัดไม้ทำลายเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีเครื่องมือที่ทันสมัย
ด้านอุตสาหกรรม
ผลดี ::
- กรรมวิธีการผลิตใช้ทรัพยากรน้อยลง และใช้เทคโนโลยีทันสมัย - ช่วยเพิ่มคุณภาพและปริมาณสินค้าและบริการเพิ่มมากขึ้น เพียงพอแก่ความต้องการของประชาชน - ต้นทุนการผลิตลดต่ำลง กระจายสินค้าได้อย่างกว้างขวาง
ผลเสีย ::
- เกิดการแข่งขันทางการตลาดมากขึ้น
- สร้างค่านิยมการบริโภคที่ฟุ่มเฟือยแก่ปรระชาชน
- การผลิตสินค้าเหมือนกัน และมีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น

แนวทางการแก้ไขปัญหาจากการใช้วิทยาการและ เทคโนโลยี
1. ควรประเมินผลกระทบที่เป็นผลดีและผลเสียต่อสภาพแวดล้อมจากการใช้เทคโนโลยี
2. ควรเลือกใช้เทคโนโลยีที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศวิทยา
3. มีการบริหารและควบคุมการใช้เทคโนโลยีที่เป็นประชาธิปไตย
ที่มา : http://www.lks.ac.th/kukiat/student/betterroyal/social/42.html

เทคโนโลยี กับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

เทคโนโลยี กับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
เทคโนโลยีเป็นองค์ประกอบสำคัญที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงต่อกระบวนการกิจกรรมของมนุษย์ใน
หลายๆด้าน เช่น สังคมความเป็นอยู่ การปกครอง เศรษฐกิจ แม้แต่ด้านการเมืองการปกครอง การเปลี่ยนแปลงด้าน
เทคโนโลยีนั้นเป็นไปอย่างรวดเร็วได้ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อระบบเศรษฐกิจ ภาคการผลิต ภาคการบริการและคุณภาพชีวิตของประชาชนเทคโนโลยี เป็นส่วนหนึ่งของผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสังคมในหลายๆด้าน เป็นทั้งเครื่องมือที่ผลักดันให้ระบบเศรษฐกิจมีการพัฒนา รวมถึงเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำรงชีวิตของมนุษย์ อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีเองก็สามารถส่งผลกระทบในด้านที่ไม่ต้องการเช่น การสร้างมลพิษหรือการเกิดส่วนเกินจากการผลิตที่ไม่ต้องการกลายเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม การพัฒนาเทคโนโลยีกลายเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาต่างของมนุษย์แต่ในขณะเดียวกันก็สร้างปัญหารูปแบบใหม่ๆให้เกิดขึ้นด้วย การทำความเข้าใจแนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยีจำเป็นต้องมองระยะยาวมากขึ้น เพื่อสะท้อนภาพการพัฒนาเทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ด้านบวกมากกว่าจะกลายเป็นผลเสียต่อสังคมโดยรวม

ความหมายของเทคโนโลยี
ความเข้าใจด้านเทคโนโลยีเริ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงการพัฒนาระบบอุตสาหกรรม ความหมายเน้นในขณะนั้นจะ
เน้นเชิงผลิตที่เกี่ยวข้องกับวิธีการดำเนิน กิจกรรม และความรู้ที่ใช้ในการเปลี่ยนปัจจัยนำเข้าให้เป็นผลผลิต
ความหมายที่เกิดขึ้น เช่น เทคโนโลยี คือ ความรู้ เครื่อง เทคนิค และการกระทำที่ใช้ในการแปลงปัจจัยนำเข้าขององค์การให้เป็นผลผลิต (Perrow,1967 )เทคโนโลยีประกอบด้วยองค์ประกอบมากมาย ซับซ้อน และเป็นส่วนสำคัญในการแก้ปัญหา ทำให้เทคโนโลยีเป็นทั้งโครงสร้างและเป็นตัวเปลี่ยนแปลงสังคม (Thomas P, Hughes,1968)จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยี มักจะหมายถึง สิ่งที่ต้องใช้ความรู้ และมีเครื่องมือร่วมกับทักษะ ทำให้สามารถควบคุมและนำมาใช้ในสังคม ซึ่งเราจะมองในรูปแบบของวิทยาศาสตร์หรืองานวิศวกรรม
เทคโนโลยีนั้นเป็นคำที่มาจากรากคัพท์จากภาษากรีกที่มีคำว่า "technologia", "τεχνολογία" —
"techne", "τέχνη" ("craft") and "logia", "λογία" ("saying") อย่างไรก็ตามคำว่า เทคโนโลยี ก็จะ
ประกอบไปด้วยเครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องจักร (machines, hardware or utensils) ทั้งนี้จะรวมในเรื่องของระบบsystems, กระบวนการบริหารองค์กร เทคนิคต่างๆไปด้วย อาจจะใช้คำศัพท์ประกอบคำร่วมเสริมเพื่อบ่งบอกเฉพาะด้านเช่น เทคโนโลยีการก่อสร้าง "Construction Technology", เทคโนโลยีด้านการแพทย์ "MedicalTechnology" เป็นต้นในยุคกรีกนั้นจะเน้นใช้คำว่า Techne เทคเน่ ซึ่งจะหมายถึงองค์ประกอบสามส่วนเริ่มจากงานด้านศิลปะและการค้า สองคือกฎเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ที่เกิดจากการศึกษางานศิลปะและการค้า และส่วนสุดท้ายจะเป็นเรื่องที่พัฒนาขึ้นเช่น คณิตศาสตร์ เคมี กลศาสตร์ เรื่องจากจะสามารถพัฒนาศักยภาพด้านการผลิตให้มนุษย์เพิ่มขึ้นได้ และแนวคิดนี้ เพลโต (Plato) ได้เพิ่มในเรื่องของการเมืองการปกครองไปด้วย แต่สำหรับอริสโตเติล (Aristotle) นั้นจะเน้นว่าเทคโนโลยีคือ ทุกสิ่งที่มนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้นเรียกว่าTechne (SimKa Deletic,1999)เทคโนโลยีในความหมายยุคใหม่จะมีความเฉพาะมากขึ้นเช่นแนวคิดของ วิลเลี่ยม วาร์เนอร์ (Dr.
William Warner) ได้ให้ความเห็นว่า เทคโนโลยีนั้นคือสิ่งที่ใช้ในการควบคุมกระบวนการทำงานในลักษณะของการเป็นวิธีการ เครื่องมือ และความชำนาญ ทั้งนี้จะมีองค์ประกอบหลักเป็นเรื่องของพลังงาน การขนถ่าย การผลิตการก่อสร้างและการติดต่อสื่อสาร (Warner, 1947)สำหรับเดนเวอร์(Devore) มองว่าเทคโนโลยีนั้นหมายถึง เครื่องมือทุกอย่างที่มนุษย์สร้างขึ้นนำมาใช้ตามประโยชน์รวมถึงการใช้วัตถุดิบเพื่อให้ได้ซึ่งผลที่ต้องการ สิ่งที่สร้างขึ้นและอิทธิพลของเทคโนโลยีจะส่งผลต่อมนุษย์ในการเปลี่ยนแปลงวิธีการดำรงชีวิตของแต่ละคน (Skolimowski, as cited in DeVore, 1976).การพัฒนาเทคโนโลยีมีต่อเนื่องเริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ.1850-1860 ที่เริ่มมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมเกิดขึ้นที่ประเทศอังกฤษ มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในด้านอุตสาหกรรม คือ พลังไอน้ำ ด้วยการประดิษฐ์ของ เจมส์ วัตต์ และเริ่มเกิดส่งผลให้มีแนวความคิดด้านการจัดการองค์กรการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเพิ่มการนำเทคโนโลยีCopyright@2008 Peerapong K.ด้านอื่นๆเข้ามาใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งถึงยุคการบริหารที่เรียกว่า ยุคเครื่องจักร ที่เน้นการวางรูปแบบการบริหารองค์กรที่มองประสิทธิภาพเชิงผลิต และแนวคิดการมององค์ประกอบด้านเทคโนโลยีเริ่มมีส่วนในการพัฒนาและสร้างประสิทธิภาพการจัดการเพิ่มขึ้น การบริหารจัดการที่เรียกว่า การบริหารแบบดั้งเดิม 'classicalmanagement theory' จะเน้นการจัดการความรู้ให้เป็นรูปแบบชัดเจน (systematic body of knowledge)เพื่อให้เกิดวิธีทำงานที่ดีที่สุดซึ่งแนวคิดดังกล่าวนำโดย เฟดเดอริค เทเลอร์ Frederick Taylor, เฮนรี่ ฟาโยHenry Fayol หรือกลุ่มนักคิดในช่วงนั้นได้วางแนวทางการบริหารจัดการองค์กรตามทฤษฏี 'OrganizationTheory'จนกระทั่งมีการทดลองที่แสดงให้เห็นถึง ตัวแปรด้านสังคมที่จะมีผลจะการทำงาน การทดลองดังกล่าวคือHawthorne investigations ในช่วงปี 1924 ทำให้มีการพัฒนาแนวคิดและการทดลองด้านสังคมมากขึ้น การพัฒนาแนวความคิดด้านการจัดการเริ่มมีการคำนึงองค์ประกอบด้านอื่นเข้ามาด้วย การเน้นพัฒนาองค์การบริหารและการพัฒนาบุคลากรทำให้เกิดการพัฒนาด้านเทคโนโลยี และในทางกลับกันเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาขึ้นจึงส่งผลต่อการพัฒนาแนวคิดด้านการบริหารองค์อย่างต่อเนื่องเป็นลำดับเช่นกัน การศึกษาในการออกแบบโครงสร้างขององค์กรและวิธีการบริหารกลายเป็นหัวข้อสำคัญในช่วงปี 1970เป็นต้นมา การออกแบบองค์กรไม่ได้ยึดหลักรูปแบบที่ดีที่สุดวิธีเดียวในหลักคิดแบบองค์กรเครื่องจักรในช่วงของเทเลอร์ แต่มีการปรับตามสภาพที่ควรเป็นจากองค์ประกอบสิ่งแวดล้อม แนวคิดการศึกษารูปของเทคโนโลยีในองค์กรที่ใช้อยู่จะมีผลต่อรูปแบบขององค์กร ดังนั้น
การแยกรูปแบบทางเทคโนโลยีจึงจะบอกลักษณะรูปแบบขององค์กร
การแบ่งเทคโนโลยีตามแนวคิดของโจแอน วู๊ดเวิร์ด (Joan Woodward)
โจแอน วู๊ดเวิร์ด (Woodward , 1958) ชาวอังกฤษชื่อเต็มคือ Joan Woodward ได้ศึกษาบทบาทของ
เทคโนโลยีในลักษณะการเป็นตัวกลางของการบริหารองค์และประสิทธิภาพ โดยการศึกษาวิจัยในองค์กรจริงทำให้เห็นบทบาทของเทคโนโลยีที่เข้ามามีผลต่อทฤษฏีการบริหารองค์กร ศาสตราจารย์วู๊ดเวิร์ด Woodward เสียชีวิตในปี 1971 สิริอายุรวม 54. ถือได้ว่าเป็นผู้หญิงคนที่สองที่ได้รับเกียรติให้เป็น ศาสตราจารย์ที่ Imperial CollegeLondon ด้าน Industrial Sociology เธอได้สอนทางด้าน Production Engineering และ ManagementSectionงานของวู๊ดเวิร์ดที่ได้รับการยอมรับจากหนังสือ Industrial Organization. และงานวิจัยด้านองค์กรที่ถือเป็นงานด้านสังคมวิทยาโดยได้สำรวจบริษัทที่ทำการผลิต 100 แห่ง เพื่อศึกษาว่าบริษัทเหล่านี้มีการจัดองค์การอย่างไร โดยเริ่มจากการคาดว่าจะสามารถพบหลักการ “วิธีเดียวที่ดีที่สุด” (one best way) ตามแนวคิดของเฟดเดอลิค เทเลอร์ ที่มีอิทธิพลต่อแนวคิดในการบริหารองค์กรในช่วงเศรษฐกิจที่เริ่มยุคอุตสาหกรรม แต่ผลการศึกษาพบว่าไม่เป็นไปตามหลักการวิธีเดียวที่ดีที่สุดแต่อย่างใด วู๊ดเวิร์ดจึงพัฒนามาตรวัดกระบวนการทำงานของบริษัทเหล่านี้ โดยนำลักษณะความซับซ้อนด้านเทคนิค (technical Complexity) มาใช้ วู๊ดเวิร์ด ให้ความเห็นว่าการอธิบายลักษณะพฤติกรรมกับงานได้นั้นจะต้องแยกลักษณะเทคโนโลยีที่ใช้ ระดับของเทคโนโลยีจะกลายเป็นตัวแปรหนึ่งที่สร้างรูปแบบของพฤติกรรมการทำงาน(Gardon Minty,2003) และในการศึกษาของวู๊ดเวิร์ดจึงได้Copyright@2008 Peerapong K.สร้างแนวทางการจำแนกวิธีการบริหารการผลิตหรือเทคโนโลยีที่ใช้ในองค์กรนั้นๆโดยกำหนดเงื่อนไขของการใช้
เทคโนโลยี มาเป็นหลัก 3 ประเภท ได้แก่
1.) เทคโนโลยีที่ผลิตสินค้าจำนวนน้อยและผลิตเป็นหน่วย (Small Batch and Unit Production)
คือ กระบวนการทำงานที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตรายชิ้นต่อช่วงเวลาหนึ่ง โดยไม่เน้นปริมาณ ดังนั้นการใช้
วิธีการทำงานหรือเครื่องจักรที่เป็นเทคโนโลยีจะใช้เฉพาะต่อการผลิตไม่ซับซ้อนในการผลิตสินค้านั้น ๆ เทคโนโลยีประเภทนี้จะเกี่ยวข้องกับกระบวนการการใช้แรงงาน พนักงานที่รับผิดชอบชิ้นงานจะต้องอยู่ในสายการผลิตทุกขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งการผลิตชิ้นงานครบถ้วน ดังนั้นเทคโนโลยีเหล่านี้จะมีความซับซ้อนน้อยที่สุด เช่นกระบวนการตัดเสื้อตามคำสั่งของลูกค้าที่อาศัยความเฉพาะเจาะจงทั้งความต้องการและวิธีการผลิต
2.) เทคโนโลยีที่ผลิตสินค้าจำนวนมาก (Large Batch and Mass Production)การสร้างเครื่องมือหรือเครื่องจักรที่กลายเป็นเทคโนโลยีที่ผลิตสินค้าจำนวนมากในเวลาเดียวกัน การออกแบบการทำงานเป็นไปในรูปแบบของแนวคิดของเทเลอร์ การวางสายงานการผลิตรถยนต์ การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือแม้กระทั่งการออกแบบสายงานผลิตในร้านสาขาของแมคโดนัลด์ กระบวนการที่เกี่ยวข้องจะเป็นการแบ่งงานกันทำที่ค่อนข้างตายตัว เน้นสายการผลิต (assembly line) การวางเครื่องมือเครื่องใช้กระบวนการผลิต การฝึกหัดอบรมการทำงานที่ต้องเน้นความชำนาญมากขึ้นเมื่อใช้ระยะเวลาหนึ่งในการทำงานอย่างไรก็ตามเทคโนโลยีที่ใช้นั้นก็ยังไม่มีความซับซ้อนมากนัก เน้นในเชิงผลิตและอาศัยแรงงานจำนวนมาก ความซับซ้อนจัดอยู่ในระดับปานกลาง ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวเทคโนโลยีแบบนี้มีการวิจัยและการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของงานให้มากขึ้น การวิเคราะห์งานเพื่อลดข้อเสียหาย ลดต้นทุนในการผลิต รวมทั้งการศึกษาเพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การผลิตอาศัยความรวดเร็วและการผลิตจำนวนมากเป็นจุดแข็งเชิงการแข่งขัน
3.) เทคโนโลยีที่มีกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง ( Continous Process Production)วู๊ดเวิร์ดได้แยกรูปแบบเทคโนโลยีที่มีวิธีการซับซ้อนทั้งกระบวนการผลิตที่จัดทำต่อเนื่องรวมถึงใช้วัตถุดิบที่ต้องเตรียมการในขั้นตอนต่างๆ เป็นไปได้ว่าไม่สามารถแบ่งแยกเป็นขั้นตอนที่แน่ชัดได้ การออกแบบงานต้องเน้นการใช้เครื่องจักรทั้งกระบวนการการผลิต เช่น โรงงานเคมีภัณฑ์ ซึ่งต้องใช้สารเคมีหลายประเภทในรูปของเหลวโดยใส่เช้าไปในเงื่อนไขแตกต่างกัน (ผสมกัน ใช้ความร้อน ใช้ความเย็น) โดยส่วนผสมนี้จะดำเนินไปตั้งแต่ต้นจนสิ้นสุดกระบวนการ เทคโนโลยีจะเน้นการทำงานของบุคคลากรที่น้อยลงเนื่องจากไม่สามารถสัมผัสกับวัสดุโดยตรง
เช่น การผลิตอาหารของโรงงานขนาดใหญ่ต้องมีการสร้างเครื่องจักรที่มีความสามารถสูงขึ้นเป็นเทคโนโลยีที่สร้างขึ้นสลับซับซ้อนมากที่สุดเมื่อเทียบกับสภาพการผลิตประเภทอื่นวู๊ดเวิร์ดได้ศึกษาข้อมูลงานวิจัยเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีและโครงสร้างการจัดการ และสรุปว่า หากเทคโนโลยีมีลักษณะเป็นการผลิตสินค้าจำนวนมาก จะมีความสัมพันธ์กับโครงสร้างที่รวมศูนย์และเป็นเครื่องจักร ในขณะที่เทคโนโลยีแบบผลิตจำนวนน้อยและมีกระบวนการผลิตที่ต่อเนื่องจะประสบความสำเร็จในโครงสร้างองค์การที่มีการกระจายอำนาจ หรือ เป็นองค์การแบบสิ่งมีชีวิต(ทิพวรรณ,2550)Copyright@2008 Peerapong K.
รูปแบบการแบ่งเทคโนโลยีของ วู๊ดเวิร์ด
การแบ่งรูปแบบเทคโนโลยีทำให้เกิดความเข้าใจการออกแบบการทำงานในทฤษฎีองค์กร แต่เป็นเพราะการพัฒนาเทคโนโลยีไม่ได้หยุดนิ่งมีการก้าวกระโดดการพัฒนา จากที่เคยมีการนำเทคโนโลยีใช้กับองค์กรก็เริ่มมีการนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน รูปแบบการเปลี่ยนแปลงทางสังคมจึงเกิดขึ้น การวิเคราะห์กระบวนการทางเทคโนโลยีซับซ้อนมากขึ้น ในช่วงต่อไปจึงกล่าวถึงการพัฒนาเทคโนโลยีและผลกระทบด้านต่างที่เกิดขึ้นหลังยุคอุตสาหกรรม
กระบวนการพัฒนาเทคโนโลยีโดยเริ่มจากยุคอุตสาหกรรมถึงปัจจุบัน
เทคโนโลยีในช่วงของยุคอุตสาหกรรมได้พัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรก ในด้านหนึ่งก็เพื่อที่จะสร้างเครื่องมือช่วยให้การทำงานของมนุษย์ลดความยากลง แต่ในทางกลับกันก็สร้างความยุ่งยากในการดำรงชีวิตให้มนุษย์เพิ่มขึ้นด้วยการพัฒนาระบบขนส่งที่ช่วยลดเวลาและค่าใช้ลง การสร้างระบบการติดต่อสื่อสารที่ดีขึ้น การประดิษฐ์เครื่องจักรกลการสร้างรถยนต์ หรือมากไปกว่านั้นก็คือ การพัฒนาระบบอวกาศ การสำรวจดวงจันทร์ หรือแม้แต่การพัฒนาพลังงานปรมาณูขึ้นมาใช้งาน
สาเหตุการเกิดปฏิวัติอุตสาหกรรมthe Industrial Revolution
การปฏิวัติอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นนั้นก็เนื่องจากการพัฒนาเทคโนโลยีนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนา
เครื่องจักรไอน้ำที่เข้ามาใช้ในอุตสาหกรรมการทอผ้า ได้เปลี่ยนรูปแบบการทำงานและกระบวนการบริหารงานนอกจากนั้นสิ่งที่มีส่วนต่อการปฏิวัติอุตสาหกรรมนั้นมีอยู่ด้วยกันสามด้าน เริ่มเทคโนโลยีด้านเครื่องจักรไอน้ำและเครื่องมือด้านอื่น(The Steam Engine and Other Technologies) ด้วยการคิดค้นของเจมส์ วัตต์ James Watt.มนุษย์นำเอาพลังงานไอน้ำมาหมุนเครื่องจักรนอกจากนั้นแล้วยังมีเครื่องมือด้านต่างๆที่เป็นเครื่องจักรกล ที่ช่วยลดความยุ่งยากของการทำงาน สามารถออกแบบงานผลิตด้วยจำนวนมากเพื่อลดต้นทุนการดำเนินและสร้างผลผลิตได้ดีขึ้น ในส่วนต่อมาที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงคือ ระบบทุนนิยม Capitalistic (Marglin ,1974) ด้วยแนวคิดที่ไม่หยุดเพียงแค่การผลิตแต่เน้นการพัฒนาการค้าสู่ระดับนานาชาติ มาร์กลิน Marglin ได้สร้างแนวคิดเรื่อง การเร่งเศรษฐกิจให้เติบโตในช่วงยุคต้นของการปฏิวัติอุตสาหกรรม (Francis, 1986). นอกจากนั้นด้านการบริหารยังได้รับการวางรากฐานรูปแบบการบริหารงานในส่วนแรงงานที่ มาร์กลิน (Marglin)ได้พูดถึงการหย่อนประสิทธิภาพการทำงานเพราะความพอใจของแรงงานที่เรียกว่า“leisure preference.” หรือแนวคิดการออกแบบการทำงานของเทเลอร์ ที่มองการบริหารเป็นรูปแบบการออกแบบเชิงวิทยาศาสตร์ กลายเป็นรากฐานของแนวคิดการจ้างงานเป็นรายชิ้นหรือค่าจ้างรายวันเกิดขึ้นด้วย อิทธิพลอีกด้านคือ วัฒนธรรม (The cultural origins) ที่มีส่วนสร้างแนวทางการทำงานให้เกิดลักษณะของเครื่องจักร จากการควบคุมของผู้นำที่เป็นนายทุนที่สามารถสร้างงานจากแรงงาน เครื่องจักรและเงินทุน Jacob (1988) วัฒนธรรมแนวคิดที่เน้นการสร้างวิทยาการ ในช่วงนั้นเริ่มมี
วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ โดยนิวตัน Newton การพัฒนาด้านการค้าเติบโตไปพร้อมด้วยรูปแบบการค้าต่างๆร้านค้าและวิธีการทำการค้าที่สมบูรณ์มากขึ้น การปฎิวัติอุตสาหกรรมส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมไปด้วย ในยุคกลางที่เริ่มมีการสร้างโรงงานเพื่อรองรับการผลิตต่างๆทั่วโลก และในยุคนี้จึงเกิดลัทธิคอมมิวนิสม์ ขึ้นมาโดยนักคิดคาร์ล มาร์กซ์ Karl Marx ที่แยกกลุ่มคนที่เป็นนายทุนและกลุ่มผู้ขายแรงงาน ในการพัฒนารูปแบบการบริหารทำCopyright@2008 Peerapong K.
ให้เกิดแนวคิดแบบ Systematic Management เกิดขึ้นโดยมีผู้นำความคิด คือ เฟดเดอริค เทเลอร์ FredericTaylor ถือว่าเป็นยุคของการบริหารที่เน้นประสิทธิภาพด้านเศรษฐศาสตร์เป็นหลัก เน้นการทำงานเสมือนเครื่องจักร การจัดการอย่างมีกระบวนการ และแบ่งสายงานการทำงานทีเรียกว่าระบบ Assembly line หลังจากนั้นในช่วงปี 1924 เป็นต้นมาเริ่มมีแนวคิดการบริหารที่มองด้านบุคคลมากขึ้น เน้นด้านสังคมและความเป็นปัจเจกของคน มีการพัฒนารูปแบบการบริหาร การสร้างแนวความคิดของผู้นำมากกว่าเป็นนายทุน การทำงานร่วมกันขององค์กร การสิ้นสุดของยุคอุตสาหกรรมเริ่มขึ้นตั้งแต่ช่วง 1953 (Wierzbicki, 2006) เมื่อการพัฒนาความรู้ของมนุษย์เริ่มมีรูปแบบชัดเจนขึ้น เป็นจุดเกิดของการประสานระหว่างการบริหารจัดการ เทคโนโลยีและสังคม
(Gardon Minty,2003) นักคิดที่เป็นผู้นำอย่าง ฟาโยล์ Fayol เทเลอร์ Taylor หรือ องค์กรแบบ ดูปองท์ Dupontได้นำเอาแนวคิดการบริหารสมัยใหม่ เทคโนโลยี และการจัดการองค์กร เข้ามาสู่การปฏิบัติจริง
เทคโนโลยีกับการเปลี่ยนแปลง สังคมยุคใหม่
กระบวนการเปลี่ยนแปลงของสังคมทั่วโลกที่เป็นไปตามกระแสการเปลี่ยนของเทคโนโลยี โดยเฉพาะด้านการสื่อสารแลข้อมูลสารสนเทศ ประสิทธิภาพขงการส่งข้อมูลและข่าวสารมีความทันสมัยและรวดเร็วและด้วยเทคโนโลยีทำให้การรับรู้เป็นไปอย่างสมบูรณ์มากขึ้น ทั้งภาพและเสียงระบบการกระจายข้อมูลข่าวสารเป็นไปอย่างรวดเร็วไม่จำกัดช่องทางหรือตัวกลาง ผลจากการพัฒนารูปแบบเทคโนโลยีทุกด้านทำให้เกิดผลกระทบกับระบบเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีทำให้เกิดแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญหลายด้านแนวโน้มที่สำคัญ ประกอบด้วย
1) เทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ
2) เทคโนโลยีแบบตอบสนองตามความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน เป็นการพัฒนาขึ้นมาใช้สำหรับบุคคลเทคโนโลยีสร้างอุปกรณ์ต่างๆเพื่อเน้นการตอบสนองตามความต้องการ โดยสร้างพื้นฐานของอุปกรณ์รองรับทั้งด้านการเชื่อมโยงเครือข่ายทำให้กระบวนการที่ซับซ้อนสามารถเป็นไปได้ เทคโนโลยีพัฒนาก้าวหน้าเพื่อให้สามารถนำทุกการคิดค้นต่างๆขึ้นมาตอบสนองและลดปัญหาต่างๆของมนุษย์
3) เทคโนโลยีทำให้เกิดรูปแบบขององค์กรที่สามารถประกอบการหรือดำเนินกิจกรรมไดเทุกสถานที่ และทุกเวลาอาศัยการสื่อสารที่ก้าวหน้าและแพร่หลายขึ้นผ่านระบบเครือข่าย การประชุมทางวีดิทัศน์ ระบบประชุมบนเครือข่าย ระบบโทรศึกษา ระบบการค้าบนเครือข่าย ลักษณะของการดำเนินงานเหล่านี้ ทำให้ผู้ใช้ขยายขอบเขตการดำเนินกิจกรรมไปทุกหนทุกแห่งตลอด 24 ชั่วโมง กิจกรรมทางเศรษฐกิจจัดการได้สะดวกมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นการวางระบบเอทีเอ็มที่ทำให้การเบิกจ่ายได้ตลอดเวลาและกระจายถึงตัวผู้รับบริการมากขึ้น
4) เทคโนโลยีทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบท้องถิ่นเชื่อมโยงสู่ระดับเศรษฐกิจโลกที่ไม่มีขีดจำกัดด้านสถานที่ การซื้อขายที่ผ่านระบบอินเตอร์เนททำให้เกิดรูปแบบการค้าที่ช่วยให้มีการแลกเปลี่ยนสินค้า บริการอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว ระบบเศรษฐกิจในโลกสามารถเชื่อมโยงและเอื้อประโยชน์ในรูปแบบต่างๆมากขึ้น
5) เทคโนโลยีส่งผลให้องค์กรมีลักษณะแบบเครือข่ายมากขึ้น องค์กรมีการวางเป็นลำดับขั้นสายการบังคับบัญชาจากบนลงล่าง แต่เมื่อการสื่อสารแบบสองทางและการกระจายข่าวสารดีขึ้น มีการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในองค์กรผูกพันกันเป็นกลุ่มงานเพิ่มคุณค่าขององค์กรด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศองค์กรกลายเป็นการบริหารข่ายงานที่มีลักษณะการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น การออกแบบหน่วยธุรกิจขนาดเล็กลงและเน้นการทำงานเชื่อมโยงกันกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่ายตามความเชี่ยวชาญและประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์เป็นหลัก โครงสร้างของ
องค์กรได้รับผลตามกระแสของเทคโนโลยีอย่างสมบูรณ์
6) เทคโนโลยีทำเกิดการวางแผนการดำเนินการบริหารที่สร้างความได้เปรียบเพื่อให้เกิดความยั่งยืนมากขึ้น ระบบการตัดสินใจวางแผนมีแบบแผนและมีประสิทธิภาพ แนวทฤษฎีทางความคิดการบริหารเปลี่ยนไปมีความยืดหยุ่นและมองหลายมิติมากขึ้น
7) เทคโนโลยีได้กลายเป็นตัวแปรที่สำคัญในทุกด้านมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม
ศีลธรรม การศึกษา เศรษฐกิจและการเมืองได้อย่างมาก การเชื่อมโยงข่าวสารจากประเทศต่างๆ ได้ทั่วโลกสามารถรับรู้ข่าวสาร ใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการสื่อสารระหว่างกันและติดต่อกับคนได้ทั่วโลก ผลกระทบที่ตามมาของการส่งผ่านวัฒนธรรม เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองจึงมีลักษณะเป็นสังคมโลกมากขึ้น
ที่มา : http://www.peerapong.com/franchise/images/stories/pdf/Andrzej-PWierzbicki.pdfสังคมเครือข่าย (Social Network)

เครือข่ายสังคม (Social Networking)

เครือข่ายสังคม (Social Networking)
หากลองพิจารณาตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2525 อธิบายว่า สังคม คือ คนจำนวนหนึ่งที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันตามระเบียบกฎเกณฑ์ โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญร่วมกัน

ส่วน Wikipedia เองก็บอกว่า สังคม เป็นการอยู่รวมกันของสิ่งมีชีวิต สังคมของมนุษย์เกิดจากกลุ่มบุคคลที่มีความสนใจร่วมกันไม่ว่าจะในด้านใด เช่น ประเทศ จังหวัด และอื่นๆ และมักจะมีวัฒนธรรม หรือประเพณีรวมถึงภาษา การละเล่นและอาหารการกินของตนเองในแต่ละสังคม

ซึ่งหากจะสรุปง่ายๆ สังคม ก็คือ การที่กลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน มารวมกลุ่มกันในสถานที่ที่ตอบรับกับความสนใจของเขา และสร้างความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง เช่น สังคมไฮโซก็จะเป็นกลุ่มคนที่ชอบกระเป๋า เสื้อผ้า รองเท้าที่มีราคาแพงเป็นหลักแสนขึ้นไป อีกทั้งต้องมาเจอกันตามสถานที่ไฮโซๆ เท่านั้น เช่นงานเลี้ยงราตรีสโมสร หรือตามงานสังคมต่างๆ จะไม่มีการไปนัดพบเจอกันตามจตุจักรอย่างแน่นอน หรือกลุ่มเพื่อชีวิต ก็จะเป็นกลุ่มคนที่มีความชอบในเพลงเพื่อชีวิต แน่นอนว่าต้องเป็นพี่ๆ วงคาราบาว คงจะไม่มีใครที่หันไปชอบกอล์ฟ-ไมค์ ซักเท่าไร ซึ่งสถานที่ที่น่าจะไปเจอกันก็คงหนีไม่พ้นร้านเหล้าเพื่อชีวิตอย่าง เยอรมันตะวันแดง หรือตามงาน Concert ของศิลปินที่เค้าชอบ และแน่นอนว่าสไตล์การแต่งตัวก็ต้องเป็นแนวเซอร์ๆ เสื้อยืด กางเกงยีนส์ เป็นต้น

แต่นอกจากนี้ 1การจะตีความคำว่า สังคม ก็ยังเป็นเรื่องที่คลุมเครืออยู่ หรือที่เราเรียกว่าเป็น Fuzzy Concept (แนวความคิดที่คลุมเครือ) เพราะคุณลักษณะหรือความสัมพันธ์ทางสังคมเป็นสิ่งที่มองเห็นได้ยาก วัดยาก อย่างบางที เราก็ไม่สามารถตีความได้ว่า สิ่งทีชอบจะสอดคล้องไปกับบุคลิกภาพของคนๆ นั้นทั้งหมด อย่างเช่น คนที่ชอบเรื่องราวทางด้านเทคโนโลยี อาจจะเป็นลุงแก่ๆ ที่แต่งตัวมอซอๆ แต่กลับอ่านหนังสือเกี่ยวกับจานดาวเทียม เป็นต้น
1พัฒนาสังคม...พัฒนาอะไร, ขนิฏฐา กาญจนรังษีนนท์

ดังนั้น การตีความคนจากภายนอก เพื่อบ่งบอกว่าเขาเป็นคนที่อยู่ในสังคมอะไร มีความชอบอะไร จึงอาจจะไม่ใช่เรื่องที่สำคัญอีกต่อไป เพราะการที่คนเรามีความชอบอะไรที่เหมือนๆ กันอาจจะไม่จำเป็นต้องรู้ว่าเป็นใครอีกต่อไป

ซึ่งสาเหตุนี้ ก็ตอบรับกับโลกในทุกวันนี้ ที่การสร้างความสัมพันธ์ทางด้านสังคม กลับไม่ได้เป็นแค่การมาพบปะพูดคุย มองเห็นรูปร่างหน้าตา บุคลิกภาพหรือทำกิจกรรมร่วมกันแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่กลับอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการพัฒนาทางด้านสังคมให้เกิดขึ้น จนเราเรียกกันติดหูว่า สังคมเครือข่าย (Social Network) หรือสังคมออนไลน์นั่นเอง


สังคมเครือข่าย เป็นสังคมที่เกิดขึ้นบนโลกไซเบอร์ ซึ่งมีความกว้างใหญ่ไพศาล ไม่สิ้นสุด ซึ่งสังคมที่เกิดขึ้น ก็คือ เครือข่ายหนึ่งของโลก ที่เชื่อมโยงเข้าด้วยกันในรูปแบบเฉพาะเจาะจง เช่น ทางด้านความคิด เงินทอง มิตรภาพ การค้า ซึ่งอธิบายได้ว่า สังคมเครือข่าย ก็คือ แผนผังความเกี่ยวข้อง ที่มาจากความสนใจในรูปแบบต่างๆ กัน มารวมเข้าไว้ด้วยกัน เช่น กลุ่มเพื่อนสมัยอนุบาล เพื่อนประถม กลุ่มคนรักกล้อง กลุ่มคนที่สะสมตุ๊กตาไบรท์ กลุ่มแฟนคลับของศิลปินเกาหลี เป็นต้น โดยมี Website ที่ได้รับความนิยม และเป็นที่รู้จักกันดี เป็นตัวกลางเชื่อมต่อความชอบของคนแต่ละกลุ่มเข้าไว้ด้วยกัน

ข้อมูลจากวิกิพีเดีย ได้กล่าวถึง 2Social Networking ว่ามีจุดเริ่มต้นจากเว็บ Classmates.com (1995) และเว็บ SixDegrees.com (1997) ซึ่งเป็นเว็บที่จำกัดการใช้งานเฉพาะนักเรียนที่เรียนในโรงเรียนเดียวกัน เพื่อสร้างประวัติ ข้อมูล ติดต่อสื่อสารส่งข้อความ และแลกเปลี่ยนข้อมูลที่สนใจร่วมกันระหว่างเพื่อนในลิสต์เท่านั้น ต่อมาเว็บ Epinions.com (1999) ที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาของ Jonathan Bishop ได้เพิ่มส่วนของการควบคุมเนื้อหาด้วย
2วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ตัวผู้ใช้เอง และสามารถติดต่อถึงกันได้ไม่เพียงแต่เพื่อนในลิสต์เท่านั้น นับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของ Social Networking ทั้งหลายที่ก่อกำเนิดต่อมา เช่น MySpace, Google และ Facebook เป็นต้น แต่ดูเหมือนว่า Facebook จะมาแรงกว่าเพื่อนด้วยการเพิ่มแอพพลิเคชั่นต่างๆ มากมายในปี 2007 แม้แต่ Starbuck ก็ยังขอมีส่วนร่วมในการโฆษณา และทำการตลาดให้กับสินค้าด้วยการสร้าง Widget สำหรับผู้ใช้ Facebook ด้วยการส่งกาแฟเมนูต่างๆ ให้กับเพื่อนในเครือข่าย และยังเป็นพื้นที่ที่หลายแบรนด์ดังระดับโลกหมายปองจะขอเข้ามามีส่วนร่วม

ทั้งนี้ การเกิดขึ้นของ Social Network Website นี้ มาจากการพัฒนาทางเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต จาก Web 1.0 มาสู่ “Web 2.0” ซึ่งจุดเด่นของ Web 2.0 ก็คือ การที่ผู้ใช้สามารถสร้างเนื้อหาบนอินเทอร์เน็ตได้เอง โดยไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นทีมงานหรือผู้ดูแลเว็บไซต์ ซึ่งเราเรียกว่า User Generate Content ซึ่งข้อดีของการที่ผู้ใช้เข้ามาสร้างเนื้อหาได้เองนี้ ก็ทำให้มีการผลิตเนื้อหาเข้ามาเป็นจำนวนมาก และมีความหลากหลายของมุมมองความคิด เพราะจากเดิมผู้ดูแลจะเป็นคนคิด และหาเนื้อหามาลงแต่เพียงกลุ่มเดียว นอกจากนี้ ผู้ใช้งานเอง ยังเป็นผู้กำหนดคุณภาพของเนื้อหา โดยการให้คะแนนว่าเนื้อหาใดที่ควรอ่าน หรือเข้าไปเรียนรู้

ตัวอย่างพื้นฐานของ Web 2.0 ก็ได้แก่ Webboard, BLOG และอื่นๆ ทีเราพบเห็น ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้ดูแล ว่าต้องการนำเทคโนโลยีด้านใดไปใช้ ตัวอย่าง Web 2.0 ที่รู้จักกันเป็นอย่างดีก็คือ Wikipedia ซึ่งเป็นสารานุกรม Online ขนาดใหญ่ที่สุด โดยเนื้อหาทั้งหมดใน Wikipedia ถูกสร้างโดยผู้ใช้เช่นพวกเรา ซึ่งใน Wikipedia ไม่ว่าใครก็สามารถสร้าง และปรับปรุงเนื้อหาอย่างไม่มีขีดจำกัด โดยความถูกต้อง เที่ยงตรงของ Wikipedia ได้รับการประเมินว่าไม่แพ้ Britannica ซึ่งเป็นสารานุกรมแบบเก่าเลย ทั้งนี้ ในปัจจุบัน Wikipedia ได้รวบรวมบทความภาษาอังกฤษไว้มากกว่า 1.3 ล้านบทความ

Web 2.0 ทำให้ผู้ใช้ที่มีความสนใจในเรื่องต่างๆ มีพื้นที่สำหรับตัวเอง ลองพิจารณาถึงการสร้างและเผยแพร่ เนื้อหาที่ไม่มีค่าใช้จ่าย เมื่อเทียบกับสื่อที่เป็นวัตถุ เช่น กระดาษหรือการตีพิมพ์เป็นเอกสาร ทำให้การสร้างและเผยแพร่เนื้อหา บนอินเทอร์เน็ตปราศจากข้อจำกัดทางด้านทรัพยากร ถ้าไม่นับเวลาที่เสียไป เพราะนั่นถือว่าเป็นทรัพยากรที่ผู้ใช้ยินดีสูญเสียให้กับความชอบของตนเอง

นอกจากเรื่องการประหยัดทรัพยากรแล้ว การเข้าถึงสิ่งที่ผู้ใช้เผยแพร่ก็ทำได้ง่าย เพียงแค่มีอินเทอร์เน็ต ก็สามารถเข้าถึง Website ต่างๆ ที่ต้องการแล้ว และหากผู้ใช้สร้างเนื้อหาที่มีคุณค่า จนได้รับความนิยมนั้น ชื่อเสียงที่ได้จากการสร้างเนื้อหานั้นก็สามารถแปลงเป็นมูลค่าทางการเงินได้

นอกจากผู้ใช้จะมีบทบาทในการสร้างเนื้อหาเองแล้ว ผู้คนอื่นๆ ที่เข้ามาดูก็สามารถให้คะแนน และวิพากษ์วิจารณ์ เพื่อพัฒนาหรือต่อยอดไอเดียเพิ่มเติมได้ อย่างใน Website ของ Digg.com ที่รวบรวมข่าวสาร และสาระน่ารู้ทางด้านเทคโนโลยี ซึ่งผู้คนก็สามารถเข้ามาแสดงความเห็นต่อเรื่องนั้นๆ ได้ว่ามีประโยชน์ ตรงกับความต้องการหรือไม่

ในบาง Website ยังสามารถให้ระบบจัดการบริหารในบางเรื่องที่อาจจะมีความยุ่งยาก เช่น ให้มีการ Tag รูปภาพของตัวเราเอง หรือคนที่เรารู้จัก ซึ่งระบบจะจดจำข้อมูลที่เราเคยใส่ไว้ และสามารถจัดข้อมูลได้ด้วยตัวมันเอง ตัวอย่างเช่น Flickr.com ซึ่งเป็น Website สำหรับการเผยแพร่รูปภาพของตัวเราเอง ทำให้เวลาที่เราต้องการค้นหา เพียงแค่ใส่คำค้นสั้นๆ ระบบก็สามารถรวบรวมข้อมูลออกมาให้เราได้ทั้งหมด ซึ่งทำให้สะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

การมีพื้นที่สำหรับ การเผยแพร่ความรู้หรือประสบการณ์ของตัวเราเอง ก็เป็นอีกหนึ่งความสามารถของ Web 2.0 ซึ่งเทคโนโลยีที่เรามักจะพบเห็นกันบ่อยก็คือ BLOG ซึ่งเปรียบได้กับเป็น Website สำเร็จรูปส่วนตัวของเราเอง เพียงแค่เราสมัครใช้บริการ ก็สามารถมีสิทธิเข้าไปเขียนข้อความต่างๆ ลงไปใน Website นั้นๆ ได้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการปฏิวัติสื่อต่างๆ เพราะ BLOG เปรียบเหมือนโรงพิมพ์ที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ใครอยากอ่านก็เข้ามาอ่าน ไม่เสียค่าใช้จ่ายเหมือนกัน ซึ่งในปัจจุบันเราจะพบว่า Web BLOG หลายๆ ที่กลายเป็นเหมือนห้องสมุดที่รวบรวมเรื่องราวทางด้านวรรณกรรม ไว้มากมาย โดยที่ผู้บริโภค ไม่ต้องไปหาซื้อตามร้านหนังสืออีกต่อไป

สรุปได้ว่า เทคโนโลยี Web 2.0 คือ ระบบที่ผู้ใช้เป็นผู้สร้างและแก้ไขเนื้อหาเอง ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาที่สร้างคนเดียว (BLOG) และเผยแพร่ให้คนอื่นได้อ่าน หรือเนื้อหาสาธารณะที่ทุกคนเข้ามามีส่วนช่วยกันสร้าง อีกทั้งผู้ใช้ยังเป็นผู้กำหนดคุณค่าของเนื้อหาด้วยตนเอง ทำให้เนื้อหาที่ถูกเผยแพร่มีการพัฒนา ปรับปรุงอย่างไม่หยุดนิ่ง และกลายเป็นว่าเกิดการแข่งขันทางด้านการสร้างเนื้อหาที่มีคุณภาพขึ้น เพราะ Website แต่ละที่ ก็จะเริ่มมีการจัดอันดับเนื้อหาความนิยมต่างๆ ด้วย นับได้ว่าเทคโนโลยี Web 2.0 ก็จะเข้ามามีส่วนสนับสนุนต่อการสร้างสรรค์ทางสังคมขึ้น ทำให้เกิดการเรียนรู้ และเกิดปัญญาขึ้น หรือที่เราจะเรียก “ปัญญาสาธารณะ” นั่นเอง

ดังนั้น หากพิจารณากันให้ดีๆ จะพบว่า การพัฒนา Web 2.0 ขึ้นมา ทำให้ผู้ใช้งานหรือผู้บริโภคกลายเป็นศูนย์กลางของระบบเครือข่าย และสามารถสร้าง รวมทั้งเผยแพร่สิ่งที่ตนเองชอบหรือต้องการได้ โดยไม่จำกัดสื่อ เช่น ข้อความ, บทความ, รูปภาพ, วีดีโอ อีกทั้งผู้ใช้งานยังสามารถสร้างสังคมของตัวเองขึ้นมาได้ หรือที่เราเรียกว่า สังคมเครือข่าย ตามที่ได้อธิบายข้างต้น ซึ่งสังคมที่เกิดขึ้นนี้ ก็ไม่มีข้อจำกัดใดๆ มาขวางกั้นการเป็นสมาชิกของคนในสังคม เพียงแค่คุณมีอินเทอร์เน็ตเท่านั้น แรงจูงใจที่ทำให้เกิดสังคม เครือข่าย
ในปัจจุบัน เราคงพบเห็นสังคมเครือข่าย กันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น MySpace, Hi5, หรือFacebook ซึ่งสังคมประเภทนี้ เราเรียกอีกอย่างหนึ่งได้ว่า สังคมเสมือน “Virtual Communities” โดยการขยายตัวของสังคมประเภทนี้ เป็นไปด้วยความรวดเร็วอย่างสูง เป็นการขยายตัวแบบทวีคูณ อย่างเช่น หากเรารู้จักเพื่อนคนหนึ่ง เราก็จะรู้จักเพื่อนของเพื่อนไปในตัวด้วย และหากเรารู้จักเพื่อนของเพื่อนแล้ว ในอนาคตต่อมาเราก็จะรู้จักเพื่อนของเพื่อนของเพื่อนอย่างแน่นอน ซึ่งการขยายตัวดังกล่าว เป็นการขยายตัวเหมือนใยแมงมุมที่ขยายตัวออกไปเป็นทอดๆ โยงไปโยงมา

และหากเราลองพิจารณากันแล้ว จะพบว่าการขยายสังคมประเภทนี้ อย่างรวดเร็วเป็นผลมาจากแรงจูงใจบางอย่าง โดยที่ 3Peter Kollock ได้ให้กรอบจำกัดความเรื่อง แรงจูงใจสำหรับการเข้ามามีส่วนร่วมในสังคมเครือข่ายนี้ ว่ามีอยู่ด้วยกัน 4 เหตุผล ดังนี้
3ผู้เขียนหนังสือ "The Economies of Online Cooperation: Gifts and Public Goods in Cyberspace"


1. Anticipated Reciprocity ความคาดหวังจากการให้และรับ นั่นคือ การที่ผู้ใช้บางคนได้เข้ามา Contribute และให้ข้อมูล ความรู้บ่อยๆ ก็มีแรงจูงใจมาจาก เขาเองก็อยากที่จะได้ข้อมูล ความรู้อื่นๆ กลับคืนมามากเช่นกัน

ซึ่งเหตุผลนี้ จะพบมากในผู้ใช้ที่เข้ามาใช้งาน Webboard เพราะเมื่อมีคนมา Post ข้อสงสัยใดๆ ก็ตาม ก็มักจะมีผู้ใช้งานบางคนที่เข้ามาตอบคำถาม หรือแสดงความคิดเห็นอย่างรวดเร็ว จนบางครั้ง กลายเป็นที่รู้จักของ Webboard นั้นๆ และเมื่อตัวเขาเองเข้ามาเป็นผู้ Post บ้าง ก็จะมีคนให้ความสนใจ และเข้ามาตอบคำถามให้กับเขาอย่างมากมาย

2. Increased Recognition ความต้องการมีชื่อเสียง และเป็นที่จดจำในสังคมเครือข่ายนั้นๆ ซึ่งแน่นอนว่า ชื่อเสียง หรือการถูกยกย่องชมเชย และถูกจดจำนั้น ก็คือพื้นฐานเบื้องต้นของการดำรงชีวิต นั่นคือ ความต้องการด้านความรักนั่นเอง

ซึ่งในหลายๆ ครั้ง คนเรามักจะโหยหาความรัก และการยอมรับจากคนในสังคมจริงๆ แต่ในโลกแห่งความเป็นจริงแล้ว บางทีเราก็ไม่ได้รับการตอบสนองมากนัก ดังนั้น สังคมเครือข่ายประเภทนี้ ก็มีบทบาทที่เข้ามาช่วยตอบสนองความต้องการของคนกลุ่มนี้ได้ เพราะบางคนเป็นคนพูดไม่เก่ง สื่อสารด้วยภาษาพูดไม่เข้าใจ แต่ในโลกของไซเบอร์แล้ว เขากลับเป็นคนที่เขียนรู้เรื่อง เล่าเรื่องด้วยภาษาเขียนได้ดี ก็ทำให้เขาถูกยอมรับ และแสวงหาการเข้ามาอยู่ในโลกเสมือนนี้มากกว่าการอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง

3. Sense of efficacy ความภาคภูมิใจ เมื่อสิ่งที่เขียนเกิดผลกระทบที่ดีขึ้น แน่นอนว่าเราเองก็คงจะรู้สึกดีไม่น้อย หากสิ่งที่เราคิดขึ้นมา ถูกนำไปใช้สร้างประโยชน์ ทั้งในระดับกลุ่มเล็กๆ หรือในระดับองค์กร

สำหรับหลายๆ คนมักจะติดใจ และกลับเข้ามาในสังคมเครือข่ายนี้อีก ก็เพราะความคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะจากเขาเอง ได้รับการยอมรับ เกิดเป็นความรู้ขึ้น และสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาได้จริงๆ ซึ่งสิ่งนี้ ก็กลายเป็นแรงบันดาลใจให้กับตัวเขาเองในการเป็นผู้เสนอแนะ Contribute ความรู้ให้กับเพื่อนๆ ในสังคมเครือข่ายต่อไป

4. Sense of Community การมีอารมณ์หรือความรู้สึกร่วมกัน เช่น การแสดงพลังทางการเมือง การรวมตัวเพื่อประโยชน์ในทางสาธารณะ ซึ่งแรงจูงใจทางด้านนี้ ถือได้ว่าเป็นแรงจูงใจที่มีอิทธิพลอย่างสูง เพราะการใช้อารมณ์ในการนำพาให้คนมารวมกลุ่มกัน ก็จะมีแรงผลักดันจากภายในค่อนข้างสูง

ตัวอย่างที่พบเห็น ก็อย่างเช่นการเขียนกระทู้ หรือบทความบางอย่างแล้วไปมีผลกระทบต่อความคิดของคนบางกลุ่ม ก็อาจจะทำให้เกิดการเข้าต่อยอดความคิดเห็นต่างๆ จากหนึ่งคนเป็นสองคนเป็นสามคน จนในที่สุดก็เป็นหลายร้อยคน

ดังนั้น สรุปแล้วจากแรงจูงใจทั้ง 4 ด้าน จึงพอสรุปได้ว่า คนจะเข้ามามีส่วนร่วมในสังคมเครือข่ายนั้น เหตุผลส่วนใหญ่ก็มาจากแรงจูงใจ จากภายในจิตใจของผู้ใช้เป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นความต้องการการยอมรับความภูมิใจ ความคาดหวังต่างๆ หรือแม้กระทั่งการใช้อารมณ์ร่วมดังนั้น การจะทำให้สังคมเครือข่ายนั้น มีความน่าอยู่ และเติบโตได้นานๆ คนในสังคมก็ควรจะรู้จักพื้นฐานของการให้และรับ (Give & Take) การแบ่งปัน (Sharing & Contribution) ซึ่งจะช่วยให้สังคมเป็นสังคมเครือข่ายที่ก่อประโยชน์ให้กับคนที่เข้ามาใช้จริงๆ



ประเภทของสังคมเครือข่าย
สังคมเครือข่ายในปัจจุบัน มีอยู่มากมายหลากหลาย Website อย่างที่เรารู้จักกันดีก็ Facebook, Hi5, youtube ซึ่งหากจะแบ่งเป็นประเภทออกมาอย่างชัดเจนเลยนั้น ทำได้ค่อนข้างยาก เพราะในบางตำราก็แบ่งสังคมเครือข่ายตามประเภทของเนื้อหาเช่น เป็นเนื้อหาความรู้สื่อมัลติมีเดียต่างๆ หรือแม้กระทั่งรูปภาพ

แต่ในรายงานนี้ ขอแบ่งประเภทของสังคมเครือข่ายออกตามวัตถุประสงค์ของการเข้าใช้งาน โดยสามารถแบ่งออกได้ทั้งสิ้น 7 ประเภท คือ

1. Identity Network (สร้างและประกาศ “ตัวตน”)
สังคมครือข่ายประเภทนี้ใช้สำหรับให้ผู้เข้าใช้งาน ได้มีพื้นที่ในการสร้างตัวตนขึ้นมาบน Website และสามารถที่จะเผยแพร่เรื่องราวของตนผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยประเภทของการเผยแพร่อาจจะเป็นรูปภาพ วีดีโอ การเขียนข้อความลงใน BLOG ซึ่งในสังคมประเภทนี้ สามารถที่จะสร้างกลุ่มเพื่อนขึ้นมาได้อย่างมากมาย ไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งผู้ให้บริการสังคมเครือข่ายประเภทนี้ได้แก่ My Space, Hi5, Facebook



2. Creative Network (สร้างและประกาศ “ผลงาน”)
สังคมเครือข่ายประเภทนี้ เป็นสังคมที่คนในสังคมต้องแสดงออก และนำเสนอผลงานของตัวเอง ได้จากทั่วทุกมุมโลก จึงมี Website ที่ให้บริการพื้นที่เสมือนเป็น Gallery ที่ใช้จัดโชว์ผลงานของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น วีดีโอ รูปภาพ เพลง ซึ่งผู้ให้บริการสังคมเครือข่ายประเภทนี้ ได้แก่ Youtube, Yahoo VDO, Google VDO, Flickr, Multiply

ซึ่งในปัจจุบันการประกาศผลงานในสังคมเครือข่ายประเภทนี้ ไม่ใช่แค่ทำเพื่อความสนุกเท่านั้น แต่บางคนถึงขั้นโด่งดังมีชื่อเสียงเพียงชั่วข้ามคืนก็เป็นได้ อย่างเช่น สาวใหญ่ ร่างท้วมวัย 47 ปี ดูเป็นแม่บ้านธรรมดา แต่งตัวก็แสนเชย แทบไม่มีอะไรดึงดูดใจ กลายเป็นคนดังขึ้นมา ด้วยเสียงร้อง อันทรงพลัง สะกดใจคนดู และโด่งดังมีชื่อเสียงระดับโลก หลังจากที่มีผู้นำคลิปวิดีโอ การแสดงของเธอในรายการโทรทัศน์ "Britain's Got Talent" ไป Post ไว้ใน "Youtube" และปรากฏว่า มีคนคลิกเข้ามาดูมากถึง 48 ล้านครั้ง



สำหรับช่างภาพ หรือตากล้องคนไทยก็สามารถช่องทางนี้ ในการสร้างรายได้ทางธุรกิจได้เหมือนกัน เพราะหลายๆ คนก็มักจะนิยมใช้ Multiply ในการนำเสนอผลงานภาพถ่ายของตัวเอง มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ติชมรูปภาพกัน และยังใช้เป็นอัลบั้มภาพออนไลน์เพื่อให้คนที่กำลังหาช่างภาพอยู่สามารถเข้ามาดูผลงาน และติดต่อภาพคนนั้นได้โดยตรง

3. Passion Network (“ความชอบหรือคลั่ง” ในสิ่งเดียวกัน)
เป็นสังคมเครือข่าย ที่ทำหน้าที่เก็บในสิ่งที่ชอบไว้บนเครือข่าย โดยเป็นการสร้าง Online Bookmarking โดยมีแนวคิดที่ว่า แทนที่ผู้ใช้จะเก็บ Bookmark ไว้ในเครื่องคนเดียว ก็นำมาเก็บไว้บน Website ดีกว่า เพื่อที่จะได้เป็นการแบ่งปันให้กับคนที่มีความชอบในเรื่องเดียวกัน สามารถใช้เป็นแหล่งอ้างอิงในการเข้าไปหาข้อมูลได้ และนอกจากนี้ ยังสามารถ Vote เพื่อให้คะแนนกับ Bookmark ที่ผู้ใช้คิดว่ามีประโยชน์และเป็นที่นิยม ซึ่งผู้ให้บริการสังคมเครือข่ายประเภทนี้ ได้แก่ del.icio.us, Digg, Zickr, duocore.tv



ทั้งนี้สำหรับ Zickr เอง ก็เป็นสังคมเครือข่าย ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยคนไทย และเป็น Website ลักษณะเดียวกับ Digg แต่เป็นภาษาไทย เพื่อบริการให้กับคนไทยที่บางทีอาจติดขัดในเรื่องของภาษาอังกฤษ

4. Collaboration Network (เวทีทำงานร่วมกัน)
เป็นสังคมเครือข่าย ที่ต้องการความคิด ความรู้ และการต่อยอดจากผู้ใช้ที่เป็นผู้รู้ เพื่อให้ความรู้ที่ได้ออกมา มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และเกิดการพัฒนาในที่สุด ซึ่งหากลองมองจากแรงจูงใจที่เกิดขึ้นแล้ว คนที่เข้ามาในสังคมนี้ มักจะเป็นคนที่มีความภูมิใจ ที่ได้เผยแพร่สิ่งที่ตนเองรู้ และทำให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม ซึ่งผู้ให้บริการสังคมเครือข่ายประเภทนี้ ได้แก่ Wikipedia, Google Maps

ซึ่ง Website ที่โด่งดังมากอย่าง Wikipedia ซึ่งถือว่าเป็นสารานุกรม แบบต่อยอดทางความคิด ก็อนุญาตให้ใครก็ได้เข้ามาช่วยกันเขียน และแก้ไขบทความต่างๆ ได้ตลอดเวลา ทำให้เกิดเป็นสารานุกรมออนไลน์ขนาดใหญ่ ที่รวบรวมความรู้ ข่าวสาร และเหตุการณ์ต่างๆ ไว้มากมาย

นอกจากนี้ Google Maps เอง ก็ถือว่าเป็นสังคมเครือข่ายประเภทนี้ด้วย เพราะการสร้างแผนที่ของตัวเอง หรือแบ่งปันข้อมูลแผนที่ให้คนอื่นตามที่ได้มีการปักหมุดเอาไว้ ก็ทำให้คนที่เข้ามาได้รับประโยชน์ในการสืบค้นข้อมูลเหล่านั้น ซึ่งเกิดมาจากการต่อยอดแบบสาธารณะนั่นเอง



สำหรับตัวอย่างการทำงานร่วมกันอีกรูปแบบหนึ่ง ก็คือการเสนอความคิดเห็นต่อยอดกันใน Webboard อย่างในห้องเฉลิมไทย จาก Web Pantip ที่มีการเปิดโอกาสให้ คนทั่วไปมีส่วนร่วมในการสร้างภาพยนตร์เรื่อง “เพชรพระอุมา” ไม่ว่าจะเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องของบทภาพยนตร์ การคัดเลือกนักแสดง อุปกรณ์ และงานอื่นๆ ซึ่งคนทีเข้าแสดงความเห็น ก็เป็นคนที่ชอบในภาพยนตร์เรื่องนี้ทั้งนั้น ซึ่งหากมีการพัฒนาดีๆ จากสังคมประเภทนี้ ก็จะทำให้เกิด Community of Practice หรือ CoP ได้เลย

อย่างเครื่องมือที่เรียกว่า Webboard นั้น ในหลายๆ องค์กรมีการนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการความรู้เหมือนกัน เพราะไม่มีการปิดกั้นทางความคิด ทำให้คนมีอิสระในการเขียนแสดงความคิดเห็น จึงมีการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ จนเกิดเป็นความรู้ขึ้นมา

5. Virtual Reality (ประสบการณ์เสมือนจริง)
สำหรับสังคมเครือข่ายประเภทนี้ จะเป็นสังคมที่ทำให้ผู้ใช้สร้างตัวละครขึ้นมาสมมติเป็นตัวเรา และใช้ชีวิตอยู่บนโลกไซเบอร์ และทำในสิ่งที่บางครั้งเราทำไม่ได้ในโลกจริงๆ ส่วนใหญ่สังคมประเภทนี้ จะเป็นพวกเกมต่างๆ เช่น SecondLife, World WarCraft



อย่างเช่นเกม SecondLife ซึ่งเป็นเกมออนไลน์ ในโลกเสมือนจริง ผู้ใช้สามารถสร้างตัวละครโดยสมมุติให้เป็นตัวเราเองขึ้นมาได้ และใช้ชีวิตอยู่ในเกม อยู่ในชุมชนเสมือน (Virtual Community) สามารถซื้อขายที่ดิน และหารายได้จากการทำกิจกรรมต่างๆ ได้

6. Professional Network (เครือข่ายเพื่อการประกอบอาชีพ)
สังคมเครือข่ายอีกประเภท ก็คือ สังคมเครือข่ายเพื่อการงาน โดยจะเป็นการนำประโยชน์จาก Social Network มาใช้ในการเผยแพร่ประวัติผลงาน หรือ Resume ของตน โดยสามารถสร้างเครือข่ายกับเพื่อนร่วมงาน เจ้านาย หรือคนรู้จัก นอกจากนี้บริษัทที่ต้องการคนมาร่วมงาน ก็สามารถเข้ามาหาจากประวัติที่อยู่ในสังคมเครือข่ายนี้ได้ ซึ่งผู้ให้บริการสังคมเครือข่ายประเภทนี้ ได้แก่ Linkedin.com



หากจะมองให้ดีนี่ก็คือการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์อย่างหนึ่ง เพราะทำให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตัวผู้ใช้ และตัวผู้ดูแลระบบเอง ซึ่งก็น่าจะกลายเป็นธุรกิจที่สามารถทำรายได้ในอนาคตได้ แต่คู่แข่งก็ยังมีอยู่อย่างพวก Website สมัครงานต่างๆ ก็มีอยู่เยอะพอสมควร

7. Peer to Peer (P2P) (เครือข่ายที่เชื่อมต่อกันระหว่าง Client)
สังคมเครือข่ายประเภทสุดท้าย เป็นสังคมเครือข่ายแห่งการเชื่อมต่อกันระหว่างเครื่องผู้ใช้ด้วยกันเองโดยตรง จึงทำให้เกิดการสื่อสารหรือแบ่งปันข้อมูลต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว และตรงถึงผู้ใช้ทันที ซึ่งผู้ให้บริการสังคมเครือข่ายประเภทนี้ ได้แก่ Skype, BitTorrent



ซึ่ง Skype เองก็เป็นโปรแกรมสนทนาผ่านอินเตอร์เน็ต ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ใดในมุมโลก ก็สามารถติดต่อสื่อสารแบบเห็นหน้าเห็นตาได้จากโปรแกรมนี้ หรือแม้แต่ BitTorrent ก็เป็นที่นิยมในหมู่คนที่ชอบดาวน์โหลดของฟรี จนมีอยู่ช่วงหนึ่งทำให้เกิดกระแสนิยมและมีชื่อเรียกสั้นๆ ว่าโหลดบิท แต่ทว่าเทคโนโลยีประเภทนี้ก็ส่งผลต่อเรื่องกฎหมายลิขสิทธิ์ เพราะการโหลดบิท ในแต่ละครั้งก็เหมือนการ Copy หนังแล้วเอามาเผยแพร่ต่อนั่นเอง

จากที่กล่าวมา ก็คือสังคมเครือข่ายที่ถูกจำแนกออกมาตามวัตถุประสงค์การเข้าใช้งาน ซึ่งจะเห็นได้ว่าในหลายๆ ครั้งถ้าถูกนำมาใช้ในทางที่ดี ก็จะเกิดประโยชน์ต่อสังคม แต่ในบางครั้งสังคมเครือข่ายเหล่านี้ ก็ทำให้เกิดปัญหาตามมาไม่น้อยเหมือนกัน

ผลกระทบจากการมีสังคมเครือข่าย
จากที่กล่าวไปข้างต้นแล้วว่า สังคมเครือข่ายนี้มีทั้งคุณและโทษ อยู่ที่การนำไปใช้ ซึ่งผู้ให้บริการเองก็คงต้องมองให้เห็นถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากการมีสังคมดังกล่าวเกิดขึ้น ว่ามีอะไรบ้าง โดยเราสามารถวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น และจำแนกออกมาเป็น 3 ด้านด้วยกัน คือ
- ผลกระทบทางด้านสังคม
- ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ
- ผลกระทบทางด้านการเมือง

ผลกระทบทางด้านสังคม

สำหรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสังคมนั้น หากมองในทางที่ดีแล้ว จะพบว่า สังคมเครือข่าย ช่วยให้การติดต่อสื่อสาร หรือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคนในสังคมใช้เวลาที่รวดเร็ว บางครั้งไม่ต้องเดินทางข้ามประเทศ เพื่อมาพบกัน ก็สามารถเจอกันได้ผ่านทางสังคมออนไลน์ อีกทั้งทำให้เกิดความอิสระในการมีเพื่อนที่มาจากต่างประเทศมากขึ้น ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนทั้งทางด้านทัศนคติ ความรู้ และวัฒนธรรมต่างๆ

ทำให้เกิดคลังความรู้ใหม่ๆ ขึ้นมา เพราะการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคนในสังคมเครือข่าย ที่มีการต่อยอดทางความคิด กันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในหลายๆ ครั้งก็พบว่ามี นวัตกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นมาจากการคุยกันใน Webboard รวมไปถึงการสร้างพลังทางสังคมที่มากขึ้น โดยจะเห็นได้จากเมื่อใดก็ตามที่สังคมเกิดปัญหาขึ้น ก็จะมีการวิพากษ์วิจารณ์ แสดงความคิดเห็น หาทางออกให้กับปัญหาต่างๆ โดยมีคนเข้ามามีส่วนร่วมเป็นจำนวนมาก ซึ่งการรวมกลุ่มทางสังคมนี้ขึ้นมา ก็ทำให้เกิดพลังในการขับเคลื่อน และปรับปรุงประเทศต่อไป

แต่ในอีกมุมหนึ่ง จะพบว่าความสัมพันธ์ของคนในสังคมเครือข่ายนี้ เป็นความสัมพันธ์แบบฉาบฉวย ไม่ได้มีการติดต่อสื่อสารแบบเผชิญหน้ากันอย่างแท้จริง บางคนต้องการเพียงแค่เก็บจำนวนเพื่อนให้เยอะๆ เฉยๆ เพื่อนที่อยู่ในสังคมนี้จึงไม่ค่อยมีความสำคัญเท่าไรนัก นอกจากนี้ ข้อมูลส่วนตัวที่อยู่ในสังคมเครือข่าย ก็บอกไม่ได้ว่าเป็นข้อมูลที่ถูกต้องหรือไม่ ทำให้ถูกมองว่าเป็นสังคมแห่งความหลอกลวง และไม่จริงใจ

การที่ไม่ต้องเห็นหน้าในการสื่อสารกัน ทำให้ในหลายๆ ครั้งผู้ใช้เองก็ขาดสติ และศีลธรรม และนำพฤติกรรมทางด้านลบที่ตัวเองอยากทำ แต่ไม่ได้ทำในโลกของความเป็นจริงมาใช้ในโลกของไซเบอร์ โดยมักใช้ข้อความในการดูหมิ่น ถากถาง หรือการ Post รูปที่ค่อนข้างอนาจารทำให้ในหลายๆ ครั้งสังคมเครือข่าย กลายเป็นแหล่งรวมของกลุ่มคนที่เป็นปัญหาทางสังคม และในท้ายที่สุด หลายๆ กรณี ก็ทำให้เกิดปัญหาทางด้านกฎหมายตามมาอีกมากมาย อย่างที่เรามักจะพบเห็นในหน้าหนังสือพิมพ์อยู่ทุกวัน

และที่เลวร้ายไปกว่านั้น ก็คือบ่อยครั้งที่ผู้ใช้เอง มักถูกล่อลวงจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ โดยไปหลงเชื่อข้อความที่อยู่ในเครือข่ายนั้น และโดนหลอกลวงไปทำมิดีมิร้ายต่างๆ เช่น ถูกหลอกไปข่มขืน ทำร้ายร่างกาย หรือทำให้เสียชีวิต ซึ่งกลายเป็นว่าสังคมเครือข่ายเป็นต้นเหตุ ที่ทำให้เกิดคดีต่างๆ เพิ่มมากขึ้น

ดังนั้น จะเห็นได้ว่าสังคมเครือข่ายแม้จะเป็นเทคโนโลยีใหม่ ที่ก้าวเข้ามาในโลกไม่นานนัก แต่ก็ส่งผลต่อสังคมสูงมาก และถ้าองค์กรทางภาครัฐ หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการดูแลทางด้านสังคมไม่ได้ระวังตัว ก็จะทำให้สังคมของตัวเองต้องตกเป็นเหยื่อของเทคโนโลยีนี้ก็ได้

ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ

สังคมเครือข่ายเป็นช่องทางในการหาข้อมูล หรือทำธุรกิจที่มีราคาถูกมาก โดยในปัจจุบันบริษัทต่างๆ ก็หันมาโฆษณาผ่านทางสังคมเครือข่ายมากขึ้น เพราะไม่เสียค่าใช้จ่าย และได้ผลรวดเร็วต่อการสื่อสารให้คนอื่นๆ ได้รับทราบ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างหน้าเครือข่ายไว้ที่ Facebook เพื่อประชาสัมพันธ์ และรับความคิดเห็นของลูกค้า หรือการนำโฆษณาของตนเองไป Post ไว้ที่ Youtube ซึ่งก็กลายเป็นช่องทางที่ทำให้คนเข้ามาดูมากกว่าช่องทางที่เป็นโทรทัศน์หรือวิทยุ

จากสถิติการใช้สื่อโฆษณาของอเมริกาที่จัดทำขึ้นโดย eMarketer ได้มีการใช้เงินโฆษณา ผ่านสังคมเครือข่าย เพิ่มมากขึ้นกว่า 100% จากปี 2006 เทียบกับ ปี 2007 และมีแนวโน้มที่จะใช้มากขึ้นต่อไปในอนาคต เนื่องจาก ชาวอเมริกันใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับอินเตอร์เน็ตมากกว่าทีวี หรือวิทยุ ส่วนในบางประเทศที่ถูกควบคุม และจำกัดในการโฆษณา เช่น ประเทศจีน และสิงคโปร์ ก็ยังมีการใช้สังคมเครือข่าย เป็นอีกช่องทางในการโฆษณา โดยการใช้เงินกับสื่อประเภทนี้ยังคงมีการเติบโตที่สูงมาก ซึ่งจากที่คาดการณ์ตัวเลขของปี 2006 จนถึงปี 2010 จะสูงขึ้นมากกว่า 500% ในประเทศสหรัฐอเมริกา และกว่า 600% ทั่วโลก นี่อาจจะเป็นผลมาจากเครือข่ายที่ขยายวงกว้างมากขึ้น และวิวัฒนาการของเทคโนโลยีที่มีลูกเล่น ที่น่าสนใจทำให้ผู้ใช้ได้เข้ามาคอยติดตามกัน

สังคมเครือข่ายบางประเภทไม่ใช่เป็นเพียงแค่ Website ที่ใช้แชร์ข้อมูล รูปภาพอย่างเดียวอีกต่อไป แต่ได้พัฒนามาเป็นที่แนะนำสินค้า และสถานที่ที่สามารถซื้อหาได้ หรือที่รู้จัก กันในนามของ Collaborative Shopping Communities อีกด้วย สมาชิกที่อยู่ในเครือข่ายสามารถแบ่งปันเกี่ยวกับเทรนด์ที่มาแรง แฟชั่น ร้านค้าที่ฮอตฮิต ซึ่งนี่เป็นอีกหนึ่งโอกาสสำหรับองค์กรต่างๆ ที่สามารถเก็บข้อมูล ความสนใจ และความต้องการของผู้บริโภคได้ตรง

จากการสำรวจ Global Shopping Insight ของบริษัทวิจัย TNS เมื่อมีนาคม 2008 รายงานว่า Social Network Shopping ดูจะเป็นที่นิยมมากในกลุ่มวัยรุ่นและผู้หญิงเพราะส่วน ใหญ่เป็นเทรนด์แฟชั่น และของสวยๆ งามๆ และหากมาดูยอดใช้บริการ Social Network Shopping ในแต่ละประเทศจีน และสเปน เป็นประเทศที่มีอัตราการใช้บริการและความสนใจ ค่อนข้างสูงกว่าประเทศอื่นๆ

ในไทยก็มีธุรกิจที่ได้มีการสร้างเครือข่ายเป็นของตัวเอง อย่างเช่น True ที่สร้าง Minihome, Happyvirus ของ DTAC และอุ่นใจช่วยได้ ของ AIS ซึ่งสามารถใช้เป็นช่องทางใหม่ๆ ที่จะใช้เป็นสื่อโฆษณาต่อไปในอนาคต หรือเป็นเครื่องมือทางการตลาดจากเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่ได้ และนอกจากนี้ ยังเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพ

องค์กรต่างๆ สามารถใช้เครือข่ายจากสังคมนี้ เป็นเครื่องมือการทำ CRM (Customer Relationship Management) ในงานประชาสัมพันธ์ทางการตลาดได้ เนื่องจากจะมีการแสดงความคิดเห็นผ่าน Website ก้อน ทำให้ทราบ Feedback ของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างชัดเจน

นอกจากนี้ การร่วมด้วยช่วยกันคิดผ่านสังคมเครือข่าย ก็ทำให้เกิดมุมมองต่างๆ เพิ่มมากขึ้น มีความคิดเห็นที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น จนทำให้เกิดเป็นนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมา และสามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ หรือการดำเนินธุรกิจได้เป็นอย่างดี

แต่ในทางกลับกัน หากผู้ใช้งานเอง ไม่ได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการนำเทคโนโลยีนี้ มาใช้แล้วล่ะก็จะกลายเป็นว่าวันๆ เอาแต่เล่น Hi5 Facebook โพสรูปของตัวเองเรื่อยไป งานการไม่ได้ทำ ทำให้องค์กรไม่ได้รับการพัฒนา เพราะคนในองค์กรไม่ได้ใส่ใจในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

จะเห็นได้ว่าสังคมเครือข่าย จึงมีอิทธิพลทั้งทางด้านดี และทางด้านไม่ดีต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจสูงมาก ซึ่งหากมองเห็นถึงประโยชน์สังคมเครือข่ายนี้ ก็จะถูกนำมาใช้สร้างเป็นกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนทางธุรกิจได้เป็นอย่างดี ซึ่งแน่นอนว่า หากผู้ขายสามารถขายสินค้าได้ตรงใจลูกค้ามากยิ่งขึ้น และตอบรับความต้องการได้อย่างโดนใจแล้วล่ะก็ ก็ย่อมส่งผลในทางที่ดีต่อสภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างแน่นอน

ผลกระทบทางด้านการเมือง

สังคมเครือข่าย ถูกนำมาใช้สร้างอิทธิพลทางการเมืองสูงมาก แต่ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก เท่าไร จนกระทั่ง บารัค โอบามา ชนะการเลือกตั้ง เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนที่ 44 ซึ่งเขาเองก็เป็นผู้หนึ่งที่ให้ความสำคัญกับการสร้างสังคมเครือข่ายขึ้น และสามารถนำมาใช้ในการหาเสียงได้เป็นอย่างดี โดยที่ Micah Sifry ผู้ร่วมก่อตั้ง BLOG การเมืองออนไลน์ของสหรัฐฯ ที่มีชื่อว่า techpresident.com ได้พูดถึงเรื่องนี้ว่า ทั้งหมดเป็นผลมาจากการที่ โอบามามีความเข้าใจเรื่องพลังแห่งเครือข่าย ที่เขาสร้างมาเพื่อสนับสนุนแคมเปญของตัวเอง ซึ่งโอบามา มีความเข้าใจเรื่องการดึงพลังร่วมขององค์กรอิสระ ที่จะช่วยสนับสนุนแคมเปญของเขาได้

นอกจากนี้ David Almacy ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมให้บริการอินเทอร์เน็ต และการสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายในทำเนียบขาวตั้งแต่เดือนมีนาคม 2005 ถึงเดือนพฤษภาคม ปี 2007 มองว่า โอบามา เข้าใจแนวคิดการสื่อสารระหว่างชุมชนออนไลน์ตั้งแต่แรกเริ่ม ทำให้โอบามาเน้นการส่งข้อความ Twitter แทนที่จะตรวจหน้า Facebook อย่างเดียวทุกวัน และความเข้าใจพลังเรื่องการสื่อสารระหว่างคนหลายชุมชนนี้เองที่ทำให้โอบามาทำแคมเปญ ได้ดีกว่าแม้คู่แข่งจะใช้กลยุทธ์หาเสียงออนไลน์เช่นเดียวกัน

สำหรับในเมืองไทยเอง ก็มีการสร้างสังคมเครือข่ายขึ้นเหมือนกัน อย่างในรัฐบาลของคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นั้น ก็มองเห็นถึงอิทธิพลจากสังคมเครือข่าย จึงมีการสนับสนุนให้ใช้Facebook และ Hi5 ในการติดต่อสื่อสารกับประชาชน ทั้งจากการนำนโยบายมาสื่อสารให้ประชาชนได้ทราบ หรือการรับข้อเสนอแนะจากประชาชนก็ตาม และบุคคลที่ได้ชื่อว่า เป็นอีกผู้หนึ่งที่นิยมชมชอบในการสื่อสารกับประชาชน ด้วยเทคโนโลยีประเภทนี้ ก็คือ คุณกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งท่านเองก็มี Facebook และ Hi5 ไว้ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ว่าในขณะนี้ รัฐบาลกำลังดำเนินงานเรื่องอะไร มีผลกระทบอะไรบ้าง และต้องการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างไร โดยเปิดรับความคิดเห็นจากในเครือข่าย แน่นอนว่า ท่านเองก็ได้เข้ามาใช้งานในสังคมเครือข่ายนี้อย่างเป็นประจำทุกวัน เพราท่านรู้ดีว่ากลุ่มคนในสังคมเครือข่ายนี้ จะมีอิทธิพลต่อการขับเคลื่อนประเทศนั่นเอง

แต่ในทางกลับกัน แม้ว่าสังคมเครือข่ายจะมีคุณประโยชน์กับภาครัฐก็จริงอยู่ แต่ในบางครั้งก็มีโทษมหันต์เหมือนกัน เพราะเนื่องจากเป็นสังคมที่ไม่มีการปิดกั้นทางความคิด ทำให้ในหลายๆ ครั้งมีการโพสกระทู้ที่ล่อแหลมต่อความมั่นคงของชาติ หรือสภาบันพระมหากษัตริย์ ตามที่เคยมีข่าวออกมา ก็ส่งผลกระทบทั้งต่อตัวผู้โพสเอง และเจ้าของที่ให้บริการด้วย อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศอีกด้วย

สรุปได้ว่า สังคมเครือข่าย หรือสังคมออนไลน์ นั้นเปรียบเหมือนเหรียญที่มีอยู่ 2 ด้าน ซึ่งให้ทั้งประโยชน์ และโทษ ซึ่งสามารถส่งผลกระทบทั้งในระดับสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองได้ ซึ่งแนวทางส่งเสริมและป้องกันที่ถูกต้องนั้น ผู้ใช้งานเองจะต้องมีความรู้ในเรื่องนี้ และทราบถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น หากนำไปใช้ไม่ถูกทาง และที่สำคัญต้องคำนึงจริยธรรมอันดีงามด้วย นอกจากนี้ หากเราเป็นบุคคลหนึ่งในสังคมเครือข่ายแล้ว เราก็ควรจะส่งเสริมและผลักดันให้สมาชิกในสังคม ทำในสิ่งที่ถูกต้อง ไม่ผิดกฎหมาย ไม่สร้างความเดือดร้อน และใช้ประโยชน์ของสังคมเครือข่ายในทางที่สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ขึ้นมามากกว่าทำลาย

ส่วนผู้ให้บริการเอง ก็จะต้องคอยควบคุมดูแล และหามาตรการในการป้องกันที่ถูกต้อง ติดตั้งระบบเพื่อกลั่นกรองข้อมูลของผู้ใช้งาน มีการวางแผนว่าจะเตรียมการรับมืออย่างไร หากเกิดปัญหาที่ไม่พึงประสงค์ขึ้น และนอกจากนี้จะต้องมีวิธีในการบริหารจัดการสังคมเครือข่ายอย่างดี และสร้างความเข้มแข็งทางด้านบวกให้กับชุมชนออนไลน์ของตัวเอง และหากสุดวิสัยจริงๆ จะต้องมีกฎหมายมารองรับ เพื่อไม่ให้เกิดความเดือดร้อนต่อสมาชิกในสังคมคนอื่นๆ
มุมมองเกี่ยวกับสังคมเครือข่ายในอนาคต

สำหรับ Trend ของเทคโนโลยีในอนาคตนั้น จะเป็นรูปแบบใช้งานได้ทุกที่ ทุกเวลา ซึ่งระบบเองก็จะถูกออกแบบมาให้ตอบรับกับรูปแบบการใช้งานในอนาคตบ้างแล้ว เช่น ในประเทศญี่ปุ่น ก็กำลังพัฒนาเทคโนโลยีให้ไปสู่การเป็น Ubiquitous Computing ซึ่งทำให้การเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ต สามารถเข้าได้ทุกที่ ดังนั้น หากเป็นเช่นนั้นจริง การเข้าใช้งานสังคมเครือข่าย ก็จะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตลอดเวลา และกลายเป็นเหมือนเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน

ซึ่งสิ่งที่จะตามมาคือ แทบจะไม่มีการสร้างความสัมพันธ์กับคนจริงๆ อีกต่อไป เพราะไม่มีความสำคัญและจำเป็นเท่าไรนัก แต่คนจะหันไปให้ความสำคัญกับสังคมเครือข่าย หรือในออนไลน์แต่เพียงอย่างเดียว เพราะเมื่อใดที่เราต้องคุย สื่อสาร หรือถามความคิดเห็น เราก็จะมองหาคนในสังคมเครือข่ายอย่างเดียว จะไม่มีการโทรหาเพื่อนเพื่อปรึกษาอีกต่อไป

นอกจากนี้ เทคโนโลยีทางด้าน Mobile ก็จะเข้ามามีส่วนในการกำหนดอนาคตของสังคมเครือข่ายมากยิ่งขึ้น จะเห็นได้จากการพัฒนา Application ของสังคมเครือข่ายให้รองรับกับการเข้าใช้งานในมือถือได้มากขึ้น จะเห็นได้จากมือถือ BlackBerry ซึ่งเป็นตัวอย่างของการสร้างสังคมเครือข่ายที่ชัดเจน และสำหรับ BlackBerry เองก็มีสังคมเครือข่ายที่มีชื่อว่า MyBlackBerry ซึ่งคนที่เป็นสมาชิกในสังคมนี้ ก็จะต้องใช้โทรศัพท์ BlackBerry เท่านั้น ซึ่งผู้ใช้งานเองสามารถสร้าง Profile ของตัวเอง, ถาม Community เมื่อมีปัญหา, Review Application และอื่นๆ อีกมากมาย

บทสรุป
ดังนั้น จะเห็นได้ว่า Trend การใช้งานสังคมเครือข่าย หรือ Social Network นั้น จะไม่หยุดนิ่งอยู่แต่ในอุปกรณ์ที่เป็นคอมพิวเตอร์ เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่จะมีการพัฒนา Application ให้สามารถใช้งานกับอุปกรณ์อื่นๆ ได้ เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือแม้กระทั่งอุปกรณ์อะไรก็ได้ที่สามารถเข้าสู่อินเทอร์เน็ตได้ ดังนั้น ผู้ให้บริการ ก็คงต้องเตรียมความสามารถของ Software ให้สามารถพัฒนาตามการเคลื่อนไหวของนวัตกรรมใหม่ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ รวมทั้งผู้ใช้งานหรือสมาชิกในสังคม ก็ต้องสร้างความแข็งแกร่งทางความคิด และความรู้ ให้ไม่หลงทางไปกับนวัตกรรมใหม่ๆ แต่จะต้องรู้เท่าทันเทคโนโลยีนั้น เพื่อให้ตัวเองสามารถนำเทคโนโลยีนั้น มาใช้ประโยชน์อย่างสูงสุดได้
เอกสารอ้างอิง
1. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
2. Gotoknow.org คนทำงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้
3. พัฒนาสังคม...พัฒนาอะไร, ขนิฏฐา กาญจนรังสีนนท์
4. การแสวงหาความรู้ในปัจจุบัน : สังคมสื่อสาร, อ. สำราญ หม่อมพกุล
5. "The Economies of Online Cooperation: Gifts and Public Goods in Cyberspace", Peter Kollock
6. Social Networking, มหาวิทยาลัยศิลปากร
7. Social Networking กระแสใหม่กับความเป็นไปในสังคมออนไลน์, Thai Web Master Social Network
8. เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Online Social Network), ผู้ช่วยศาสตราจารย์จุไรรัตน์ ทองคำชื่นวิวัฒน์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

ไอทีกับแนวโน้มโลก

ไอทีกับแนวโน้มโลก
จอห์น ไนซ์บิตต์ ผู้พยากรณ์สังคมได้เขียนหนังสือเรื่อง Megatrends 2000 โดยกล่าวถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงใหม่ทางสังคมโลก เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้การกระจายข้อมูลข่าวสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว และมีลักษณะการกระจายแบบทุกทิศทาง และมีระบบตอบสนองอย่างรวดเร็ว และยังสื่อสารแบบสองทิศทาง ด้วยเหตุนี้ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมจึงแตกต่างจากในอดีตมาก ดังจะเห็นได้จากวิกฤตการณ์ทางด้านเศรษฐกิจจากประเทศหนึ่งมีผลกระทบต่อประเทศอื่น ๆ อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ผลของความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญหลายด้าน แนวโน้มที่สำคัญที่เกิดจากเทคโนโลยีที่สำคัญและเป็นที่กล่าวถึงกันมาก มีหลายประการ
- เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ สภาพของสังคมโลกได้เปลี่ยนแปลงมาแล้วสองครั้ง จากสังคมความเป็นอยู่แบบเร่ร่อนมาเป็นสังคมเกษตรที่รู้จักกับการเพาะปลูกและสร้างผลิตผลทางการเกษตรทำให้มีการสร้างบ้านเรือนเป็นหลักแหล่ง ต่อมามีความจำเป็นต้องผลิตสินค้าให้ได้ปริมาณมากและต้นทุนถูก จึงต้องหันมาผลิตแบบอุตสาหกรรม ทำให้สภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์เปลี่ยนแปลงมาเป็นสังคมเมือง มีการรวมกลุ่มอยู่อาศัยเป็นเมือง มีอุตสาหกรรมเป็นฐานการผลิต สังคมอุตสาหกรรมได้ดำเนินการมาจนถึงปัจจุบัน และกำลังจะเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมสารสนเทศ ปัจจุบันคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารมีบทบาทมากขึ้น มีการใช้เครือข่าย เช่นอินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงการทำงานต่าง ๆ การดำเนินธุรกิจใช้สารสนเทศอย่างกว้างขวาง เกิดคำใหม่ว่า ไซเบอร์สเปซ มีการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในไซเบอร์สเปซ เช่น การพูดคุย การซื้อสินค้าและบริการ การทำงานผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้เกิดสภาพที่เสมือนจริงมากมาย เช่นห้องสมุดเสมือนจริง ห้องเรียนเสมือนจริง ที่ทำงานเสมือนจริง ฯลฯ
- เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีแบบสุนทรียสัมผัสและตอบสนองตามความต้องการ การใช้เทคโนโลยีปัจจุบันเป็นแบบบังคับ เช่น การดูโทรทัศน์ วิทยุ เมื่อเราเปิดเครื่องรับโทรทัศน์ เราไม่สามารถเลือกตามความต้องการได้ ถ้าสถานีส่งสัญญาณใดมา เราก็จะต้องชม ดังนั้นเมื่อเปิดวิทยุจะมีเสียงดังขึ้นทันที หากไม่พอใจก็ทำได้เพียงเลือกสถานีใหม่ แนวโน้มจากนี้ไปจะมีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่เรียกว่า on demand เราจะมี TV on demand มีวิทยุแบบตามความต้องการ เช่น เมื่อต้องการชมภาพยนตร์เรื่องใดก็เลือกชม และดูได้ตั้งแต่ต้นรายการ หากจะศึกษาหรือเรียนรู้ก็มี education on demand คือสามารถเลือกเรียนตามต้องการได้ การตอบสนองตามความต้องการ เป็นหนทางที่เป็นไปได้ เพราะเทคโนโลยีมีพัฒนาการที่ก้าวหน้าจนสามารถนำระบบสื่อสารมาตอบสนองตามความต้องการของมนุษย์ได้
- เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดสภาพทางการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา เมื่อการสื่อสารแบบสองทางก้าวหน้าและแพร่หลายขึ้น การโต้ตอบผ่านเครือข่ายทำให้เสมือนมีปฏิสัมพันธ์ได้จริง เรามีระบบ วีดีโอคอนเฟอเรนซ์ ระบบประชุมบนเครือข่าย มีระบบ Tele-education มีระบบการค้าบนเครือข่าย ลักษณะของการดำเนินธุรกิจเหล่านี้ทำให้ขยายขอบเขตการทำงาน หรือดำเนินกิจกรรมไปทุกหนทุกแห่ง และดำเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมง เราจะเห็นจากตัวอย่างที่มีมานานแล้ว เช่น ระบบเอทีเอ็ม ทำให้การเบิกจ่ายได้เกือบตลอดเวลา และกระจายไปใกล้ตัวผู้รับบริการมากขึ้น แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ายิ่งขึ้น การบริการจะกระจายมากยิ่งขึ้นจนถึงที่บ้าน ในอนาคตสังคมการทำงานจะกระจายจนงานบางงานอาจนั่งทำที่บ้านหรือที่ใดก็ได้ และเวลาใดก็ได้
- เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลก ความเกี่ยวโยงของเครือข่ายสารสนเทศทำให้เกิดสังคมโลกาภิวัฒน์ ระบบเศรษฐกิจซึ่งแต่เดิมมีขอบเขตจำกัดภายในประเทศ ก็กระจายเป็นเศรษฐกิจโลก ทั่วโลกจะมีกระแสการหมุนเวียนแลกเปลี่ยนสินค้าบริการอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว เทคโนโลยีสารสนเทศมีส่วนเอื้ออำนวยให้การดำเนินการมีขอบเขตกว้างขวางมากยิ่งขึ้น ระบบเศรษฐกิจของโลกจึงผูกพันกับทุกประเทศ และเชื่อมโยงกันแนบแน่นขึ้น
- เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพัน หน่วยงานภายในเป็นแบบเครือข่ายมากขึ้น แต่เดิมการจัดองค์กรมีการวางเป็นลำดับขั้น มีสายการบังคับบัญชาจากบนลงล่าง แต่เมื่อการสื่อสารแบบสองทางและการกระจายข่าวสารดีขึ้น มีการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในองค์กรผูกพันกันเป็นกลุ่มงาน มีการเพิ่มคุณค่าขององค์กรด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดโครงสร้างขององค์กรจึงปรับเปลี่ยนจากเดิม และมีแนวโน้มที่จะสร้างองค์กรเป็นเครือข่ายที่มีลักษณะการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น หน่วยธุรกิจจะมีขนาดเล็กลง และเชื่อมโยงกันกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่าย สถานะภาพขององค์กรจึงต้องแปรเปลี่ยนไปตามกระแสของเทคโนโลยี เพราะการดำเนินธุรกิจต้องใช้ระบบสื่อสารที่มีความรวดเร็วเท่ากับแสง ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว
- เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการวางแผนการดำเนินการระยะยาวขึ้น อีกทั้งยังทำให้วิถีการตัดสินใจ หรือเลือกทางเลือกได้ละเอียดขึ้น แต่เดิมการตัดสินปัญหาอาจมีหนทางให้เลือกได้น้อย เช่น มีคำตอบเดียว ใช่ และ ไม่ใช่ แต่ด้วยข้อมูลข่าวสารที่สนับสนุนการตัดสินใจ ทำให้วิถีความคิดในการตัดสินปัญหาเปลี่ยนไป ผู้ตัดสินใจมีทางเลือกได้มากขึ้น มีความละเอียดอ่อนในการตัดสินปัญหาได้ดีขึ้น
- เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีเดียวที่มีบทบาทที่สำคัญในทุกวงการ ดังนั้นจึงมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองได้อย่างมาก ลองนึกดูว่าขณะนี้เราสามารถชมข่าว ชมรายการทีวี ที่ส่งกระจายผ่านดาวเทียมของประเทศต่าง ๆ ได้ทั่วโลก เราสามารถรับรู้ข่าวสารได้ทันทีเราใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการสื่อสารระหว่างกัน และติดต่อกับคนได้ทั่วโลก จึงเป็นที่แน่ชัดว่าแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองจึงมีลักษณะเป็นสังคมโลกมากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มโลกจึงขึ้นกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
ที่มา: http://nkw.ac.th/courseware/www.nectec.or.th/courseware/computer/comp-using/0118.html

อินเตอร์เน็ต (Internet)

อินเตอร์เน็ต (Internet)
อินเตอร์เน็ต (Internet) คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยใช้มาตรฐานการเชื่อมต่อ TCP/IP ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลัก คือ การเพิ่มประสิทธิภาพในการติดต่อสื่อสาร (เช่น การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-mail การส่งผ่านเอกสารซึ่งอยู่ในรูปแบบแฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์) และการใช้ทรัพยากรร่วมกัน อันได้แก่ ทรัพยากรสารสนเทศ (Information) ทรัพยากรฮาร์ดแวร์ (Hardware) ทรัพยากรซอฟแวร์ (Software) และ ทรัพยากรบุคคล (Peopleware) เป็นต้น เครือข่ายอินเตอร์เน็ตไม่มีใครคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มคนใดกลุ่มหนึ่งเป็นเจ้าของ เครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นของทุกคนที่เข้ามาเชื่อมต่อการจัดการเครือข่ายเป็นความร่วมมือซึ่งกันและกัน โดยต่างคนต่างดูแลจัดการเครือข่ายของตนเอง และมีองค์กรกลาง ชื่อ ISOC (Internet Society) เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นเพื่อความร่วมมือและการประสานงานของเครือข่ายและเทคโนโลยีการเชื่อมต่อตลอดจนการประยุกต์ใช้งานของเครือข่ายทั่วโลก องค์กรนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2535
อินเตอร์เน็ต เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์หนึ่งเดียว ที่เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องทั่วโลก เข้าด้วยกันโดยรวมผู้ใช้กว่า 60 ล้านคน เพื่อประกอบกิจกรรมหลากหลาย ตั้งแต่ การพูดคุยสนทนา การสื่อสารข้อมูลการแลกเปลี่ยนข่าวสารความรู้ การค้าขายแบบอิเล็กทรอนิกส์ การศึกษาทางไกล ฯลฯ เมื่อครั้งที่อินเตอร์เน็ตถือกำเนิดขึ้นนั้นไม่มีใครเคยคาดคิดว่ามันจะกลายมาเป็นเครือข่าย ที่มีบทบาทกับวิถีชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบัน จนถึงขนาดที่กำลังจะปฏิวัติวิธีการดำเนินชีวิตของประชากรโลกในศตวรรษหน้า กล่าวคือเมื่อ 20 ปีก่อน กระทรวงกลาโหมสหรัฐ ได้มีมติด่วนให้พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีชื่อว่า ARPANET จุดมุ่งหมายคือให้เป็นเครือข่ายที่มีความเชื่อถือได้สูงสามารถที่จะทำงานได้ แม้ภายหลังที่อเมริกาถูกถล่มโดยอาวุธนิวเคลียร์ ดังนั้นเทคโนโลยีที่ใช้เชื่อมเครือข่ายต้องมีความสามารถที่จะทำงานกับโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ที่เหลือจากการทำลายของอาวุธนิวเคลียร์ เช่น หากโครงข่ายโทรศัพท์ และ เคเบิลถูกทำลายในบางพื้นที่ เครือข่ายจะยังคงทำงานได้โดยการสลับมาใช้โครงข่ายอื่น เช่น โครงข่ายดาวเทียม หรือวิทยุ เป็นต้น นอกจากนั้นเทคโนโลยีดังกล่าวต้องมีความสามารถในการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างประเภทและต่างรุ่นที่มีอยู่ทั่วไปตามฐานทัพต่าง ๆ ในครั้งนั้นการพัฒนาเครือข่าย ARPANET ได้กระทำร่วมกันระหว่างกระทรวงกลาโหมกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ รวมทั้งหน่วยงานสำคัญ ๆ เช่นองค์การ NASA ทำให้ ARPANET เริ่มเติบโตโดยเริ่มมีการใช้งานมากขึ้นสำหรับการศึกษาและการวิจัย ถึงแม้จะเริ่มมีการพัฒนาเครือข่ายอื่น ๆ เช่น DECNET และ BITNET ขึ้นมาเป็นคู่แข่ง แต่เพราะข้อดีของARPANET ที่เป็นระบบเปิด ไม่จำกัดกับเครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทใด ประเภทหนึ่ง หรือ โครงข่ายเชื่อม (Physical Links) แบบใดแบบหนึ่งทำให้มันเอาชนะคู่แข่งและกลายมาเป็นตัวเชื่อมเครือข่ายอื่น ๆ ที่เข้ากันไม่ได้ ให้สามารถคุยกันรู้เรื่อง ด้วยเหตุนี้ทำให้ ARPANET ถูกพัฒนามาเป็นเครือข่ายของเครือข่าย หรือ อินเตอร์เน็ต (internet) ในที่สุด
ข้อดีของการที่เป็นระบบเปิด คือ สามารถใช้เทคโนโลยีการเชื่อมต่อได้หลายแบบทั้ง ไมโครเวพ ดาวเทียม โทรศัพท์ เคเบิล ใยแก้วนำแสง หรือแม้แต่ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่และสามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แบบใดก็ได้ รวมทั้งยังบริหารง่ายคือ ผู้ใช้ออกค่าใช้จ่ายเฉพาะส่วนของตน ทำให้อินเตอร์เน็ตขยายตัวง่ายในขณะที่ความซับซ้อนของงานไม่เพิ่มขึ้นเท่าใรนัก ความง่ายในการขยายเครือข่ายและการใช้งานได้ทำให้อินเตอร์เน็ต เริ่มได้รับความนิยมนอกประเทศสหรัฐอเมริกาจนกลายมาเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงทั่วโลก
การใช้งานอินเตอร์เน็ตในยุคแรก ๆ ส่วนใหญ่ยังจำกัดอยู่ ในวงการศึกษาวิจัย และการทหารเป็นหลัก ไม่ได้มีการใช้ในเชิงพาณิชย์ อย่างกว้างขวางเหมือนในปัจจุบันจุดเปลี่ยนนั้นเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1992 นักวิทยาศาสตร์แห่งศูนย์ค้นคว้าวิจัยทางฟิสิกส์ CERN ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ต้องการพัฒนาเทคโนโลยีในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างศูนย์ลูกข่ายที่ตั้งอยู่ในประเทศต่างๆ ทั่วยุโรปให้สะดวกและรวดเร็วขึ้นโดยอาศัยระบบอินเตอร์เน็ตที่มีอยู่เดิม เพียงแต่มีวิธีติดต่อผู้ใช้ (User-Interface) ที่ใช้ง่ายขึ้นเทคโนโลยีดังกล่าวอาศัยพื้นฐานการทำงานที่เรียกว่า Hypertext ที่สามารถเชื่อมโยงเอกสารที่อยู่หลาย ๆ แห่ง ซึ่งอาจอยู่บนคอมพิวเตอร์คนละเครื่องเข้าด้วยกันจนคล้ายกับว่ามีเอกสารอยู่ที่เดียว ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ถูกเรียกว่า HTML (HyperText Mark-up Language) ในเวลาต่อมาได้มีการเชื่อมโยงสื่ออื่น ๆ ที่ไม่ใช่เอกสารเช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง ฯลฯ จนเกิดเป็นลักษณะของ Hypermedia ขึ้น จากการที่ระบบดังกล่าว สามารถเชื่อมโยงเอกสารจากหลาย ๆ แห่งเข้าด้วยกัน มันจึงถูกขนานนามว่า World Wide Web (WWW) หรือเรียกง่าย ๆ ว่า WEB ในปัจจุบัน
ด้วยสถาปัตยกรรมที่แยกเนื้อหา (Contents) กับส่วนเข้าถึงเนื้อหา (Browser) ออกจากกัน ทำให้ WEB ยังคงความเป็นระบบเปิด ได้เหมือนอินเตอร์เน็ต กล่าวคือส่วนของ Browser สามารถแยกพัฒนาได้ต่างหากจากการพัฒนา Contents จึงทำให้มีความอิสระและความคล่องตัวสูง Browser ตัวแรกที่สั่นสะเทือนวงการมีชื่อว่า Mosaic นั้นมีความสามารถในการแสดงผลทางกราฟฟิกส์ รวมทั้งยังสามารถใช้งานได้ บนเครื่องคอมพิวเตอร์หลายแบบและหลายรุ่น เป็นซอฟท์แวร์ที่หามาใช้งานได้ง่ายโดยไม่ต้องเสียเงิน มีผลให้ WEB ได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งปลายปี 1994 มีการประเมินกันว่า 80 % ของการใช้งานบนอินเตอร์เน็ต เป็นการใช้บริการของ WEB
ด้วยประสิทธิภาพในการส่งข้อมูลของ WEB ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ทั้งข้อความ รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว ตลอดจนข้อมูลแบบอื่น ทำให้การใช้งานในเชิงพาณิชย์เริ่มเป็นผลนับแต่นั้น มีการประยุกต์ WEB เพื่อการค้าหลากหลายรูปแบบ เช่น การโฆษณาประชาสัมพันธ์ การโปรโมทสินค้า การติดต่อคู่ค้า การบริการลูกค้า การซื้อขายและสั่งสินค้า การสำรวจและวิจัยตลาด การให้การศึกษาและให้ข้อมูลในตัวสินค้าต่อกลุ่มเป้าหมาย เป็นต้น ในช่วงเริ่มแรกนั้น การใช้งานในเชิงพาณิชย์มีลักษณะเป็นการหว่าน เพื่อพัฒนาตลาด ด้วยบริการที่ไม่คิดเงิน เพื่อที่จะทำให้ตลาดเติบโตในลักษณะ Spiral-Up คือเมื่อยิ่งมีผู้ใช้ก็ยิ่งมีบริการมากขึ้น เช่น บริษัท NETSCAPE ได้ทำการแจก Browser ฟรีไม่คิดเงินเพื่อให้คนใช้ WEB มาก ๆ เมื่อตลาดมีศักยภาพสูงขึ้นจึงค่อยหารายได้จากการบริการใหม่อื่นๆ
ในปัจจุบัน อินเตอร์เน็ตมีขนาดใหญ่พอ หรือมี economies of scale สำหรับการดำเนินกิจกรรมพาณิชย์เต็มรูปแบบ ไม่ใช่เพียงเพื่อใช้เป็นสื่อโฆษณาเท่านั้น ในประเทศสหรัฐอเมริกา กำลังมีความตื่นตัวในการใช้เงินตราอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic or Digital Money) ซึ่งจะถูกนำมาใช้แทนธนบัตรกระดาษ สามารถใช้ซื้อขายแลกเปลี่ยนบนอินเตอร์เน็ตได้ทันที มีการคาดการณ์กันว่าเงินตราอิเล็กทรอนิกส์ จะสร้างผลกระทบต่อธุรกิจทั่วโลก และจะก่อให้เกิดการปรับตัวเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ของธุรกิจทั่วโลกหลังปี ค.ศ. 2000 นี้
ในด้านการศึกษา อินเตอร์เน็ตรองรับการใช้งานในด้านการศึกษา ค้นคว้าและวิจัย มาตั้งแต่ต้นแล้ว เพียงแต่ขอบเขต ของการให้บริการตลอดจน จำนวนและรูปแบบของบริการเพิ่งจะมีอัตราเติบโตที่สูงมากเมื่อไม่กี่ปีมานี้ แต่เดิมนักวิทยาศาสตร์อาศัยเพียง จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ในการส่งข้อมูลงานวิจัย ไปยังกลุ่มเพื่อนร่วมงาน ต่อมามีการใช้งานกลุ่มสนทนา (Discussion Forum) ที่เรียกว่า USENET Newsgroups ซึ่งทำให้สามารถรวมผู้คน เข้ามาปรึกษาหารือได้คราวละมาก ๆ โดยในแต่ละ FORUM จะมีเรื่องที่กำหนดหัวข้อไว้เช่น soc.culture.thai เป็นกลุ่มสนทนาเกี่ยวกับเมืองไทยทั้งในด้านวัฒนธรรม สังคม การเมือง และเรื่องทั่วไป comp.security เป็นกลุ่มสนทนาที่จะคุยกัน เฉพาะเรื่องราวเกี่ยวกับความปลอดภัยบนระบบคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันมีกลุ่มสนทนาอยู่กว่า 8000 กลุ่มบนอินเตอร์เน็ต จากนั้นการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารก็ไม่จำกัดอยู่ใน วงการอาจารย์มหาวิทยาลัยเท่านั้น บุคคลทั่วไปที่สนใจก็สามารถเข้าไปสนทนาในเรื่องวิชาการใดใดก็ได้ ทำให้อินเตอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในการศึกษานอกโรงเรียน (Informal Education) เป็นอย่างมาก ยิ่งภายหลังจากที่เทคโนโลยี WEB ได้ก้าวเข้ามาสู่วงการอินเตอร์เน็ต ก็ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิมมาก รูปแบบการใช้งาน (Applications) นั้นมีเหลือคณานับ เช่น การใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนแบบทางไกล (Distant Education and Wide Area Learning) สามารถส่งข้อมูลทั้งข้อความ รูปภาพ วิดีโอ เสียง อนิเมชัน ไปยังนักเรียนได้ทั่วโลก ซึ่งในขณะนี้ได้มีมหาวิทยาลัยรูปแบบใหม่เกิดขึ้นบนอินเตอร์เน็ต เรียกว่ามหาวิทยาลัยจำแลง (Virtual University) ซึ่งเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนต่าง ๆ ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ตัวมหาวิทยาลัยเป็นเพียง ที่ทำการเล็ก ๆ เท่านั้นแต่นักศึกษาจะมีความรู้สึกว่าใหญ่ เมื่อเข้าไปเรียนผ่านอินเตอร์เน็ต ไม่เพียงแต่มหาวิทยาลัยจำแลง ที่อาศัยบริการอินเตอร์เน็ตในการถ่ายทอดความรู้ไปสู่นักศึกษาที่ห่างไกล มหาวิทยาลัยจริงหลาย ๆ แห่งก็ได้ใช้อินเตอร์เน็ต ในการจัดฝึกอบรมและสัมนาทางไกล มีงานประชุมทางวิทยาศาสตร์หลายต่อหลายแห่งที่เปลี่ยนจากการประชุมจริง มาเป็นการจัดบนอินเตอร์เน็ต โดยยังอิงรูปแบบของงานประชุมจริง ๆ ไว้
การถ่ายทอดความรู้ และ การถ่ายเทความมั่งคั่งทางปัญญาจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่งรวดเร็วขึ้นอย่างมาก เราเคยใช้หนังสือเป็นตัวถ่ายทอดวิทยาการความรู้ เราเคยใช้การไปมาหาสู่ในการช่วยถ่ายเทภูมิปัญญาจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง ขณะนี้เราก็ยังคงใช้มันอยู่ หากแต่นับวันมันจะมีสัดส่วนที่น้อยลง ทุกวันนี้เราถ่ายเทข่าวสารความรู้ผ่านทางสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Publishing) เราสามารถอ่านวารสารไบต์ และ ไทมส์ บนอินเตอร์เน็ต เราสามารถติดต่อพูดคุยผ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสนทนา โทรศัพท์อินเตอร์เน็ต (Internet Phone) จนถึงการประชุมแบบเห็นภาพ (Video Conference) ทุกวันนี้เมื่อมีความรู้เกิดขึ้น ณ ที่ใด มันสามารถที่จะถ่ายเทไปยังที่อื่น ๆ ได้เร็วขึ้น ทำให้ผู้คนได้มีโอกาสเสวยสุขกับทรัพยากรทางปัญญาได้รวดเร็ว และ ทั่วถึงกว่าเดิม กล่าวคือ มันได้เพิ่มอำนาจแก่มวลชน เพราะเมื่อมวลชนมีการศึกษาที่ดีขึ้น คุณภาพทางปัญญาที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งมีการติดต่อแลกเปลี่ยนความรู้ ระหว่างกันทั่วถึงขึ้น ย่อมกระจายอำนาจการตัดสินใจไปสู่กลุ่มคนกลุ่มใหญ่มากขึ้น การตัดสินใจใดใดของรัฐบาลจะถูกควบคุมโดยพลังสารสนเทศของมวลชน การทำธุรกิจจะเป็นไปในแนวทาง ที่ตอบสนองความต้องการของมวลชนทั้งนี้ภาคธุรกิจจะสามารถทราบความต้องการของมวลชนได้อย่างรวดเร็ว
ในด้านมืด อินเตอร์เน็ตก็ได้สร้างผลกระทบต่อมวลชนเช่นกัน ความสามารถในการเป็นสื่อในการถ่ายเททรัพยากรทางปัญญา จากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่งทำให้มันถูกใช้ในการก่ออาชญากรรม และการก่อการร้ายได้ง่ายขึ้น อาชญากรสามารถที่จะเจาะเข้าไป หาข้อมูลเพื่อแสวงหาประโยชน์จากความลับในทางการค้า หรือเข้าไปขโมยเงินซึ่งอยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์ได้ง่าย อาชญากรจะมีความรู้มากขึ้น เพราะสามารถหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตได้ง่าย ตัวอย่างเช่น ข้อมูลการทำระเบิดซึ่งเขียนวิธีทำไว้อย่างละเอียดบนเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งที่ต่อกับ WEB นักก่อการร้ายในปัจจุบันใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ในการประสานงานการวางระเบิดทั่วโลก ข้อมูลต่าง ๆ สามารถถูกส่งไปยังหน่วยปฏิบัติการต่าง ๆ ของผู้ก่อการร้าย อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ การเดินทางของข้อมูลข่าวสารอย่างรวดเร็วผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ยังได้คุกคามต่อวัฒนธรรมของชนในหลายพื้นที่ที่ข้อมูลภายนอกอาจเป็นสิ่งต้องห้าม ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ ภาพโป๊และเปลือยซึ่งถือเป็นเรื่องแสนจะธรรมดาสำหรับประเทศในเขตยุโรปเหนือแต่เป็นสิ่งต้องห้ามในประเทศอาหรับ หรือแม้แต่ประเทศเราเอง
การเกิดขึ้นของอินเตอร์เน็ต ทำให้สังคมโลกเริ่มปรับตัวและจัดระเบียบใหม่ การดำเนินชีวิตของพลเมืองโลก เริ่มมีการปรับเปลี่ยน มีรูปแบบการทำธุรกิจใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมายมีการปฏิรูปทางการศึกษา พฤติกรรมในการบริโภคก็ค่อย ๆ เปลี่ยนไป อิทธิพลของอินเตอร์เน็ต ได้แผ่ขยายไปมากเกินกว่าอำนาจใดจะหยุดยั้งไว้ได้ นั่นไม่ใช่เพราะพลังของเทคโนโลยีแต่เป็นพลังของมวลชนต่างหาก
ที่มา: http://edunews.eduzones.com/banny/3733